ข้อมูลเบื้องต้น

อุปกรณ์นี้ควบคุมโดยการเดินลากและออกแบบมาสำหรับผู้ให้บริการมืออาชีพที่ต้องการนำไปใช้งานเชิงพาณิชย์ เหมาะสำหรับการเติมอากาศพื้นที่ขนาดใหญ่ในสนามที่ได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดีในสวนสาธารณะ สนามกอล์ฟ สนามกีฬา และพื้นที่เชิงพาณิชย์เป็นหลัก การใช้งานผลิตภัณฑ์นี้นอกเหนือจากวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อาจเป็นอันตรายต่อคุณและคนรอบข้างได้

กรุณาอ่านเอกสารนี้อย่างละเอียดเพื่อศึกษาวิธีควบคุมและบำรุงรักษาผลิตภัณฑ์อย่างเหมาะสม และเพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บและความเสียหายต่อผลิตภัณฑ์ คุณมีหน้าที่ใช้งานผลิตภัณฑ์อย่างถูกต้องและปลอดภัย

โปรดเข้าไปที่เว็บไซต์ www.Toro.com เพื่อดูเอกสารความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์และเอกสารฝึกอบรมการใช้งาน ข้อมูลอุปกรณ์เสริม ความช่วยเหลือเพื่อค้นหาตัวแทนจำหน่าย หรือลงทะเบียนผลิตภัณฑ์

หากคุณต้องการการซ่อมบำรุง อะไหล่แท้ของ Toro หรือข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อตัวแทนบริการที่ได้รับอนุญาตหรือฝ่ายบริการลูกค้าของ Toro และเตรียมหมายเลขรุ่นและหมายเลขซีเรียลของผลิตภัณฑ์ไว้ให้พร้อม รูป 1 หาตำแหน่งของหมายเลขรุ่นและหมายเลขซีเรียลบนผลิตภัณฑ์ จดบันทึกหมายเลขในช่องว่างที่กำหนดให้

Important: นอกจากนี้ คุณสามารถใช้มือถือสแกนรหัส QR บนป้ายหมายเลขซีเรียลได้ (ถ้ามี) เพื่อเข้าถึงข้อมูลการรับประกัน อะไหล่ และข้อมูลอื่นๆ ของผลิตภัณฑ์

g241897

คู่มือฉบับนี้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้น และระบุข้อความความปลอดภัยที่แสดงด้วยสัญลักษณ์เตือนอันตราย (รูป 2) ซึ่งบ่งบอกอันตรายที่อาจส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บร้ายแรงหรือเสียชีวิตหากคุณไม่ปฏิบัติตามข้อควรระวังที่แนะนำ

g000502

คู่มือฉบับนี้ใช้คำ 2 คำในการเน้นข้อมูล สำคัญ เพื่อให้คุณใส่ใจศึกษาข้อมูลพิเศษเกี่ยวกับกลไกและ หมายเหตุ เพื่อเน้นข้อมูลทั่วไปที่ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ

ผลิตภัณฑ์นี้ได้มาตรฐานตามคำสั่งยุโรปทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดดูเอกสารรับรองมาตรฐาน (DOC) เฉพาะของผลิตภัณฑ์แยกต่างหาก

เนื่องจากบางพื้นที่มีกฎระเบียบของท้องถิ่น รัฐ หรือรัฐบาลกลางที่กำหนดให้เครื่องยนต์ของอุปกรณ์นี้ต้องติดตั้งเครื่องดักสะเก็ดไฟ เราจึงมีเครื่องดักสะเก็ดไฟจำหน่ายเป็นอุปกรณ์เสริมด้วย หากคุณต้องการเครื่องดักสะเก็ดไฟ โปรดติดต่อตัวแทนจำหน่ายของ Toro ที่ได้รับอนุญาต เครื่องดักสะเก็ดไฟของแท้จาก Toro ผ่านการอนุมัติจาก USDA Forestry Service

คู่มือเจ้าของเครื่องยนต์ที่แนบมาจัดทำขึ้นมาเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (EPA) ของสหรัฐอเมริกาและกฎหมายของรัฐแคลิฟอร์เนียว่าด้วยการควบคุมการปล่อยมลพิษของระบบไอเสีย การบำรุงรักษา และการรับประกัน อะไหล่ทดแทนสามารถสั่งซื้อได้จากผู้ผลิตเครื่องยนต์

คำเตือน

แคลิฟอร์เนีย

คำเตือนข้อเสนอ 65

ไอเสียเครื่องยนต์จากผลิตภัณฑ์นี้มีสารเคมีที่รัฐแคลิฟอร์เนียทราบว่าเป็นสาเหตุการเกิดโรคมะเร็ง ความพิการแต่กำเนิด หรืออันตรายต่อระบบสืบพันธุ์อื่นๆ

แท่นแบตเตอรี่ ขั้วแบตเตอรี่ และส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องมีตะกั่วและสารประกอบตะกั่วเป็นส่วนผสม ซึ่งเป็นสารเคมีที่รัฐแคลิฟอร์เนียทราบว่าเป็นสาเหตุการเกิดโรคมะเร็ง และเป็นอันตรายต่อระบบสืบพันธุ์ ล้างมือหลังจากหยิบจับ

ความปลอดภัย

ความปลอดภัยทั่วไป

ผลิตภัณฑ์นี้อาจทำให้คนบาดเจ็บได้ ดังนั้น ปฏิบัติตามคำแนะนำด้านความปลอดภัยทั้งหมดอยู่เสมอเพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บร้ายแรง

  • อ่านและทำความเข้าใจเนื้อหาของคู่มือผู้ใช้ฉบับนี้ก่อนจะสตาร์ทเครื่อง

  • โปรดมีสมาธิขณะควบคุมเครื่องจักร อย่าทำกิจกรรมที่ทำให้เสียสมาธิ มิฉะนั้นอาจส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บหรือเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินได้

  • อย่านำมือหรือเท้าเข้าใกล้ชิ้นส่วนเคลื่อนไหวของเครื่องจักร

  • หากไม่ได้ติดตั้งแผงกั้นและอุปกรณ์นิรภัยอื่นๆ ทั้งหมดบนอุปกรณ์ หรือแผงกั้นและอุปกรณ์นิรภัยทำงานผิดปกติ กรุณาอย่าใช้อุปกรณ์

  • กันคนโดยรอบออกห่างจากอุปกรณ์ขณะเคลื่อนที่

  • ดูแลไม่ให้มีอะไรมาขวางกั้นช่องระบาย กันคนโดยรอบและสัตว์เลี้ยงออกห่างจากอุปกรณ์

  • กันเด็กๆ ออกจากพื้นที่ทำงาน ห้ามเด็กใช้งานอุปกรณ์โดยเด็ดขาด

  • หยุดอุปกรณ์ ดับเครื่องยนต์ ดึงเบรกมือ ดึงกุญแจออก และรอให้ชิ้นส่วนเคลื่อนไหวทั้งหมดหยุดนิ่งก่อนจะซ่อมบำรุง หรือแก้ไขการอุดตันของอุปกรณ์

การใช้งานหรือบำรุงรักษาอย่างไม่ถูกต้องอาจส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บขึ้นได้ เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดการบาดเจ็บ ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำด้านความปลอดภัยและสังเกตสัญลักษณ์เตือนอันตราย Graphic ได้แก่ ข้อควรระวัง คำเตือน หรืออันตราย ซึ่งเป็นคำแนะนำเพื่อความปลอดภัยส่วนบุคคล การไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้อาจส่งผลให้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้

สติกเกอร์ความปลอดภัยและคำแนะนำ

Graphic

ป้ายและคำแนะนำด้านความปลอดภัยมองเห็นได้ชัดเจน และติดอยู่ใกล้กับบริเวณที่มีโอกาสเกิดอันตราย เปลี่ยนป้ายที่เสียหายหรือหายไป

decal93-6696
decal93-9084
decal93-9363
decal106-8835
decal106-8853
decal106-8856
decal140-8962
decal107-7555
decal140-2269
decalbatterysymbols
decal133-8062
decal106-8854
decal107-7534
decal115-4716

การตั้งค่า

Note: ด้านหน้าของอุปกรณ์อยู่ตรงมือจับของผู้ใช้งานและเป็นตำแหน่งใช้งานตามปกติ ด้านซ้ายและด้านขวาขึ้นอยู่กับทิศทางในการใช้งานอุปกรณ์ เนื่องจากคุณจะต้องเดินลากอุปกรณ์ตามหลัง

Note: หากต้องการยกหัวเดือยขึ้นหลังจากนำอุปกรณ์ออกจากกล่อง ให้สตาร์ทเครื่องยนต์แล้วกดปุ่ม "รีเซ็ต" โปรดดูข้อมูลเพิ่มเติมในการสตาร์ทเครื่องยนต์ และการรีเซ็ตวงจรควบคุมระบบ

การติดตั้งล้อหลัง

ชิ้นส่วนที่ต้องใช้สำหรับขั้นตอนนี้:

ชุดล้อ2
  1. ถอดน็อตล้อ 8 ตัวที่ยึดด้านท้ายของอุปกรณ์เข้ากับบรรจุภัณฑ์

  2. ประกอบชุดล้อเข้ากับดุมล้อด้านท้ายแต่ละตำแหน่ง (รูป 3)

    g010018
  3. ใส่น็อตล้อ (รูป 3) และขันจนได้แรงบิด 61 ถึง 75 นิวตันเมตร (45 ถึง 55 ฟุตปอนด์)

  4. ปล่อยลมออกล้อจากทุกล้อจนเหลือแรงดัน 0.83 บาร์ (12 ปอนด์ต่อตร.นิ้ว)

การติดตั้งมือจับ

ชิ้นส่วนที่ต้องใช้สำหรับขั้นตอนนี้:

น็อตล็อค (1/2 นิ้ว)3
ตัวนำสายเคเบิล1
สลักเกลียว (5/16 x 1/2 นิ้ว)2
  1. หมุนมือจับอย่างระมัดระวังไปด้านหน้าของอุปกรณ์ ระวังอย่าทำให้สายเคเบิลเสียหาย

  2. สอดหมุดติดตั้งมือจับลงในรูบนก้ามปู (รูป 4)

    g010019
  3. ใช้น็อตล็อค (1/2 นิ้ว) 3 ตัวในการยึดหมุดเข้ากับก้ามปู (รูป 4)

  4. สอดตัวนำสายเคเบิลรอบสายเคเบิล

  5. ติดตั้งตัวนำสายเคเบิลเข้ากับด้านบนของก้ามปู (รูป 4) โดยใช้สลักเกลียว 2 ตัว (5/16 x 1/2 นิ้ว)

การติดตั้งฝาครอบด้านท้าย (CE เท่านั้น)

ชิ้นส่วนที่ต้องใช้สำหรับขั้นตอนนี้:

สลักล็อค 2
สลักเกลียวปล่อย 2
แหวนจักรใน 2

หากคุณกำลังเตรียมอุปกรณ์นี้เพื่อใช้งานในสหภาพยุโรป (CE) ให้ติดตั้งฝาครอบด้านท้ายดังต่อไปนี้เพื่อปฏิบัติตามกฎระเบียบ CE

  1. ติดตั้งสลักล็อคไว้เหนือสลักฝาครอบด้านซ้ายและด้านขวา (รูป 5) ด้วยสลักเกลียวปล่อย (ทั้งหมด 2 ตัว)

    g013611
  2. ใช้คีมหรือประแจแบบปรับได้ขันแหวนจักรในลงบนสลักเกลียวแต่ละอัน (1 หรือ 2 เกลียว) เพื่อยึดสลักไว้ (รูป 5)

การติดตั้งฝาครอบสายพาน (CE เท่านั้น)

ชิ้นส่วนที่ต้องใช้สำหรับขั้นตอนนี้:

เหล็กแลนยาร์ด1
หมุดรีเวท1
สลักเกลียว (1/4 x 1 นิ้ว)1
น็อตล็อค (1/4 นิ้ว)1

หากคุณกำลังเตรียมอุปกรณ์ให้เป็นไปตามมาตรฐาน CE ให้ติดตั้งฝาครอบตามขั้นตอนต่อไปนี้

  1. มองหารูบนฝาครอบสายพานที่อยู่ถัดจากคันสลัก (รูป 6 และ รูป 7)

    g010024
  2. ใช้รูบนฝาครอบสายพานติดตั้งชุดแลนยาร์ดด้วยหมุดรีเวท (รูป 7)

    g012264
  3. ขันสลักเกลียวเข้ากับคันสลัก (รูป 8)

g012265

การติดป้าย CE และป้ายบอกปีที่ผลิต

CE เท่านั้น

ชิ้นส่วนที่ต้องใช้สำหรับขั้นตอนนี้:

ป้าย CE1
ป้ายบอกปีที่ผลิต1

หลังจากจัดเตรียมอุปกรณ์ตามข้อกำหนด CE ที่จำเป็นครบถ้วนแล้ว ให้ติดป้าย CE และป้ายบอกปีที่ผลิตลงบนขาของก้ามปู (รูป 9)

g243051

การติดตั้งแผงยึดเดือยเจาะ แผงป้องกันสนาม และเดือยเจาะ

แผงยึดเดือยเจาะ แผงป้องกันสนาม และเดือยเจาะสำหรับใช้งานร่วมกับอุปกรณ์มีหลายแบบให้เลือก ให้ติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์เสริมที่เหมาะกับการใช้งานตามที่อธิบายใน การติดตั้งแผงยึดเดือยเจาะ แผงป้องกันสนาม และเดือยเจาะ

การชาร์จแบตเตอรี่

ชาร์จแบตเตอรี่ก่อนใช้งานครั้งแรก โปรดดู การชาร์จแบตเตอรี่

ภาพรวมผลิตภัณฑ์

g010150

ทำความคุ้นเคยกับการควบคุมทั้งหมดก่อนสตาร์ทเครื่องยนต์และใช้งานอุปกรณ์

g010151

คันควบคุมการขับเคลื่อน

หากต้องการเดินหน้า ให้ขยับคันควบคุมการขับเคลื่อนไปข้างหน้า หากต้องการถอยหลัง ให้ขยับคันควบคุมการขับเคลื่อนไปข้างหลัง (รูป 11)

  • ยิ่งขยับคันควบคุมการขับเคลื่อนไปไกลเท่าไหร่ อุปกรณ์ก็จะเคลื่อนที่เร็วขึ้นเท่านั้น

  • หากต้องการหยุดอุปกรณ์ ให้ปล่อยคันควบคุมการขับเคลื่อน

คันเบรกมือ

Important: ดึงเบรกมือทุกครั้งเมื่อคุณจอดอุปกรณ์หรือทิ้งไว้โดยไม่มีผู้ดูแล

  • หากต้องการดึงเบรกมือ ให้ดึงคันเบรกมือเข้าหามือจับของผู้ใช้งาน (รูป 11)

    Note: คุณอาจจะต้องขยับอุปกรณ์เดินหน้าหรือถอยหลังเล็กน้อยขณะเข้าเบรกมือ

  • หากต้องการปลดเบรกมือ ให้ผลักคันเบรกมือออกห่างจากมือจับของผู้ใช้งาน

    Note: คุณอาจจะต้องขยับอุปกรณ์เดินหน้าหรือถอยหลังเล็กน้อยขณะปลดเบรกมือ

ไฟเตือนแรงดันน้ำมันเครื่อง

ไฟเตือนแรงดันน้ำมันเครื่องจะติดขึ้นมา (รูป 11) หากแรงดันน้ำมันเครื่องตกลงต่ำกว่าระดับที่ปลอดภัย หากแรงดันน้ำมันเครื่องต่ำ ให้ดับเครื่องยนต์และประเมินหาสาเหตุ แล้วซ่อมแซมความเสียหายให้เรียบร้อยก่อนสตาร์ทเครื่องอีกครั้ง

สวิตช์ยกขึ้น ยกลง/ใช้งาน

ยกขึ้น—กดส่วนบนของสวิตช์ (รูป 11) เพื่อยกหัวเดือยขึ้นและเลิกใช้หัวเดือย เครื่องยนต์จะต้องทำงานเพื่อสร้างแรงดันในการยก หากหัวเดือยอยู่ต่ำกว่าความสูงในการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ โปรดดู การรีเซ็ตวงจรควบคุมระบบ

ยกลง/ใช้งาน—กดส่วนล่างของสวิตช์ (รูป 11) เพื่อลดระดับหัวเจาะลงมาและใช้งานหัวเจาะ คันควบคุมการขับเคลื่อนจะต้องอยู่ในตำแหน่งเดินหน้าเพื่อเปิดใช้งานสวิตช์

อันตราย

หัวเดือยที่กำลังทำงานอาจทำให้มือและเท้าบาดเจ็บได้

โปรดดูแลให้มือและเท้าออกห่างจากหัวเจาะ และก่อนจะลดระดับหัวเดือยลงมา ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีสิ่งกีดขวางอยู่ในบริเวณที่จะใช้งานหัวเดือย

หากต้องการลดระดับหัวเดือยลงโดยไม่ใช้งาน ให้บิดกุญแจสตาร์ทไปยังตำแหน่ง ทำงาน (โดยไม่ต้องเดินเครื่อง) จากนั้นขยับคันบังคับการขับเคลื่อนไปยังตำแหน่งเดินหน้า แล้วกดส่วนล่างของสวิตช์

สวิตช์และกุญแจสตาร์ท

ใช้สวิตช์สตาร์ท (รูป 12) เพื่อสตาร์ทและดับเครื่องยนต์ สวิตช์ประกอบด้วยย 3 ตำแหน่ง:

  • สตาร์ท—บิดกุญแจตามเข็มนาฬิกาไปยังตำแหน่งสตาร์ท เพื่อทำให้มอเตอร์สตาร์ททำงาน

  • ทำงาน—เมื่อเครื่องยนต์สตาร์ท ให้ปล่อยกุญแจ จากนั้นกุญแจจะเคลื่อนไปยังตำแหน่งเปิดโดยอัตโนมัติ

  • ปิด—บิดกุญแจทวนเข็มนาฬิกาไปที่ตำแหน่ง ปิดเพื่อดับเครื่องยนต์

g261348

คันบังคับระยะห่างของรูเจาะ

ดันคันบังคับระยะห่างของรูเจาะ (รูป 12) ไปยังระยะห่างของรูเจาะที่ต้องการ หรือไปยังตำแหน่ง T เพื่อเคลื่อนย้ายอุปกรณ์

คันโยกลิ้นเร่ง

ใช้คันโยกลิ้นเร่ง (รูป 12) ควบคุมความเร็วเครื่องยนต์ การดันคันโยกลิ้นเร่งไปด้านหน้าเป็นการเพิ่มความเร็วของเครื่องยนต์ (ตำแหน่งเร็ว) ส่วนการดันมาด้านหลังจะเป็นการลดความเร็วเครื่องยนต์ลง (ตำแหน่งช้า) ซึ่งความเร็วเครื่องยนต์จะเป็นตัวกำหนดความเร็วของหัวเดือย รวมทั้งควบคุมความเร็วในการขับเคลื่อนบนพื้นของอุปกรณ์ด้วย

มิเตอร์นับชั่วโมง/มาตรอัตรารอบ

  • เมื่อเครื่องยนต์หยุดทำงาน มิเตอร์นับชั่วโมง/มาตรอัตรารอบ (รูป 12) จะแสดงจำนวนชั่วโมงที่เครื่องยนต์ทำงาน

  • ขณะเครื่องยนต์ทำงาน มิเตอร์นับชั่วโมง/มาตรอัตรารอบจะแสดงความเร็วเครื่องยนต์ โดยมีหน่วยเป็นรอบต่อนาที (rpm)

  • มิเตอร์นับชั่วโมง/มาตรอัตรารอบจะแสดงข้อความเดือนเกี่ยวกับการบำรุงรักษาดังต่อไปนี้:

    • หลังจากใช้งานครบ 50 ชั่วโมงแรกและทุกๆ 100 ชั่วโมง (เช่น 150, 250, 350 ฯลฯ) หลังจากนั้น หน้าจอจะแสดงข้อความ "CHG OIL" เพื่อเตือนให้คุณเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง

    • หลังจากใช้งานทุกๆ 100 ชั่วโมง (เช่น 100, 200, 300 ฯลฯ) หน้าจอแสดงข้อความ "SVC" เพื่อเตือนให้คุณทำการบำรุงรักษาอย่างอื่นตามกำหนดการบำรุงรักษาเมื่อใช้งานครบ 100, 200 หรือ 500 ชั่วโมง

      Note: ข้อความเตือนเหล่านี้จะปรากฏบนหน้าจอ โดยตอนแรกจะแสดง 3 ชั่วโมงก่อนถึงเวลาซ่อมบำรุงตามรอบ และจะกะพริบเป็นจังหวะสม่ำเสมอกันเป็นเวลา 6 ชั่วโมง

โช้ค

ใช้โช้คเมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์เย็น (รูป 12)

สวิตช์เลือกปรับระดับตามพื้นดินด้วยตัวเอง

หมุนสวิตช์ไปยังตำแหน่งลงเพื่อปิดฟีเจอร์ TrueCore (รูป 12) ถอดสลักเกลียวออกเพื่อเข้าถึงสวิตช์ปรับระดับตามพื้นดินด้วยตัวเอง

สวิตช์รีเซ็ตระบบ

กดสวิตช์รีเซ็ตระบบ (รูป 12) เพื่อยกหัวเดือยขึ้น หากพบว่าอุปกรณ์ไม่ทำงาน (เช่น เชื้อเพลิงหมด)

วาล์วตัดการจ่ายเชื้อเพลิง

ใช้วาล์วตัดการจ่ายเชื้อเพลิงในการควบคุมการจ่ายเชื้อเพลิงจากถังน้ำมัน (รูป 13)

g263574

คันควบคุมความลึกในการเติมอากาศ

เลื่อนคันควบคุมไปยังความลึกในการเติมอากาศที่ต้องการ (รูป 14)

g010035

Note: ข้อมูลจำเพาะและการออกแบบอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบ

ความกว้าง127 ซม. (50.1 นิ้ว)
ฐานล้อ113 ซม. (44.5 นิ้ว)
ความกว้างช่วงล้อ97 ซม. (38.3 นิ้ว)
ความกว้างในการเจาะ122 ซม. (48 นิ้ว)
ความยาว265 ซม. (104.5 นิ้ว)
ความสูงของส่วนหัว (ยกขึ้น)114 ซม. (45 นิ้ว)
ความสูงของส่วนหัว (ยกลง)93 ซม. (36 1/2 นิ้ว)
ความสูง มือจับ104 ซม. (41 นิ้ว)
ความสูงจากพื้น12 ซม. (4.8 นิ้ว)
ความเร็วเดินหน้า0 ถึง 6 กม./ชม. (0 ถึง 3-1/2 ไมล์ต่อชม.)
ความเร็วถอยหลัง0 ถึง 3 กม./ชม. (0 ถึง 2 ไมล์ต่อชม.)
น้ำหนักสุทธิ721 กก. (1,590 ปอนด์)

อุปกรณ์ต่อพ่วง/อุปกรณ์เสริม

เราจัดจำหน่ายอุปกรณ์ต่อพ่วงและอุปกรณ์เสริมที่ Toro รับรองมากมายสำหรับใช้กับอุปกรณ์ เพื่อเสริมประสิทธิภาพและขยายความสามารถ โปรดติดต่อตัวแทนจำหน่ายของ Toro ที่ได้รับอนุญาต หรือเข้าไปที่ www.Toro.com เพื่อดูรายการอุปกรณ์ต่อพ่วงและอุปกรณ์เสริมที่รับรองทั้งหมด

เพื่อสมรรถนะสูงสุดและความปลอดภัยในการใช้งานอย่างต่อเนื่อง โปรดใช้เฉพาะอะไหล่ทดแทนและอุปกรณ์เสริมของแท้จาก Toro อะไหล่ทดแทนและอุปกรณ์เสริมที่ผลิตโดยผู้ผลิตรายอื่นอาจเป็นอันตราย และการใช้งานดังกล่าวอาจทำให้การรับประกันผลิตภัณฑ์เป็นโมฆะ

โปรดไปที่ตารางรูปแบบการใช้งานเดือยเจาะด้านล่างเพื่อดูข้อมูลเกี่ยวกับหัวเดือย แผงป้องกันสนาม และเดือยเจาะ

ตารางรูปแบบการใช้งานเดือยเจาะ

คำอธิบายหัวเดือยระยะห่างหัวเดือยขนาดก้านจำนวนเดือยเจาะชนิดแผงป้องกันสนาม (จำนวน)
หัวเดือยขนาดเล็ก 2x541 มม. (1.60 นิ้ว)9.5 มม. (3/8 นิ้ว)605 เดือยเจาะ—สั้น (2)
5 เดือยเจาะ—ยาว (1)
หัวเดือยขนาดเล็ก 1x632 มม. (1.25 นิ้ว)9.5 มม. (3/8 นิ้ว)366 เดือยเจาะ—สั้น (2)
6 เดือยเจาะ—ยาว (1)
3 หัวเดือย (7/8 นิ้ว)66 มม. (2.60 นิ้ว)22.2 มม. (7/8 นิ้ว)183 เดือยเจาะ—สั้น (2)
3 เดือยเจาะ—ยาว (1)
3 หัวเดือย (3/4 นิ้ว)66 มม. (2.60 นิ้ว)19.5 มม. (3/4 นิ้ว)183 เดือยเจาะ—สั้น (2)
3 เดือยเจาะ—ยาว (1)
4 หัวเดือย (3/4 นิ้ว)51 มม. (2.00 นิ้ว)19.5 มม. (3/4 นิ้ว)244 เดือยเจาะ—สั้น (2)
4 เดือยเจาะ—ยาว (1)
5 หัวเดือยแบบเข็ม41 มม. (1.60 นิ้ว)305 เดือยเจาะ—สั้น (2)
5 เดือยเจาะ—ยาว (1)

การปฏิบัติงาน

Note: ดูด้านซ้ายและขวาของอุปกรณ์จากตำแหน่งปกติในการควบคุมอุปกรณ์

ก่อนการปฏิบัติงาน

ความปลอดภัยก่อนการใช้งาน

ความปลอดภัยทั่วไป

  • ห้ามมิให้เด็กหรือผู้ที่ไม่ผ่านการฝึกอบรมใช้งานหรือซ่อมบำรุงอุปกรณ์โดยเด็ดขาด กฎหมายท้องถิ่นอาจจำกัดอายุของผู้ขับขี่ เจ้าของเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการฝึกอบรมให้กับผู้ควบคุมและช่างซ่อมบำรุง

  • ทำความคุ้นเคยกับการใช้งานอุปกรณ์อย่างปลอดภัย ระบบควบคุมของผู้ขับขี่ และป้ายความปลอดภัย

  • เรียนรู้วิธีหยุดและดับเครื่องยนต์อย่างรวดเร็ว

  • ตรวจสอบว่าส่วนควบคุมตรวจจับผู้ปฏิบัติงาน สวิตช์ความปลอดภัย และแผงกั้นทั้งหมดมีติดตั้งไว้และทำงานถูกต้อง ใช้งานเฉพาะอุปกรณ์ที่ทำงานได้อย่างถูกต้องเท่านั้น

  • ก่อนการใช้งาน ควรตรวจสอบอุปกรณ์ทุกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าเดือยเจาะอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และเปลี่ยนเดือยเจาะที่สึกหรอหรือชำรุด

  • ตรวจสอบบริเวณที่คุณวางแผนว่าจะใช้อุปกรณ์ และเคลื่อนย้ายวัตถุทั้งหมดที่อุปกรณ์อาจชนได้

  • มองหาและทำเครื่องหมายตำแหน่งของสายไฟและสายเคเบิลของระบบสื่อสารทั้งหมด วัสดุอุปกรณ์ระบบจ่ายน้ำ และสิ่งกีดขวางอื่นๆ ในบริเวณที่จะเติมอากาศ นำสิ่งที่อาจเป็นอันตรายออก ถ้าทำได้ หรือวางแผนวิธีหลีกเลี่ยง

  • จอดอุปกรณ์บนพื้นราบ ดึงเบรกมือ ดับเครื่องยนต์ ดึงกุญแจออก และรอให้การเคลื่อนไหวหยุดนิ่งก่อนจะลุกออกจากอุปกรณ์

ความปลอดภัยด้านเชื้อเพลิง

  • โปรดใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่งเมื่อจัดการกับน้ำมัน น้ำมันเป็นวัตถุติดไฟได้และละอองน้ำมันอาจระเบิดได้

  • ดับบุหรี่ ซิการ์ ไปป์ และแหล่งจุดไฟอื่นๆ ให้หมด

  • อย่าเปิดฝาถังน้ำมันหรือเติมถังน้ำมันในขณะที่เครื่องยนต์กำลังทำงานหรือร้อนอยู่

  • อย่าเติมหรือระบายน้ำมันในพื้นที่อับ

  • อย่าจัดเก็บอุปกรณ์หรือภาชนะบรรจุน้ำมันในที่ที่มีเปลวไฟ ประกายไฟ หรือไฟนำร่อง เช่น บนเครื่องทำน้ำร้อน หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ

  • หากน้ำมันหก อย่าพยายามสตาร์ทเครื่องยนต์ หลีกเลี่ยงการสร้างแหล่งจุดไฟจนกว่าละอองน้ำมันจะระเหยไป

การเติมน้ำมัน

ข้อกำหนดของเชื้อเพลิง

  • เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ใช้น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วที่ใหม่และสะอาด (อายุไม่เกิน 30 วัน) และมีค่าออกเทน 87 ขึ้นไป (วิธีการคิด (R+M)/2)

  • เอทานอล: น้ำมันเบนซินที่มีส่วนผสมของเอทานอลไม่เกิน 10% (แก๊สโซฮอล) หรือ MTBE (เมทิลเทอเทียรีบิวทิลอีเธอร์) 15% โดยปริมาตร เอทานอลและ MTBE ไม่เหมือนกัน ห้ามใช้น้ำมันเบนซินที่มีส่วนผสมของเอทานอล 15% (E15) โดยปริมาตร ห้ามใช้น้ำมันเบนซินที่มีส่วนผสมของเอทานอลมากกว่า 10% โดยปริมาตร เช่น E15 (มีเอทานอล 15%), E20 (มีเอทานอล 20%), E85 (มีเอทานอล 85%) การใช้น้ำมันเบนซินที่ไม่ได้รับการรับรองอาจส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสมรรถนะของอุปกรณ์และ/หรือทำให้เครื่องยนต์เสียหาย ซึ่งการรับประกันอาจจะไม่คุ้มครอง

  • ห้ามใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเมทานอล

  • ห้ามเก็บเชื้อเพลิงไว้ในภาชนะหรือถังเชื้อเพลิงในช่วงฤดูหนาว เว้นแต่มีการใส่สารคงสภาพ

  • ห้ามผสมน้ำมันเครื่องกับน้ำมันเชื้อเพลิง

Important: ห้ามใช้สารเติมแต่งน้ำมันเชื้อเพลิงอื่นใด นอกจากสารปรับสภาพ/สารคงสภาพเชื้อเพลิง ห้ามใช้สารคงสภาพเชื้อเพลิงชนิดแอลกอฮอล์ เช่น เอทานอล, เมทานอล หรือไอโซโพรพานอล

Important: ห้ามใช้เมทานอล น้ำมันเบนซินที่มีส่วนผสมของเมทานอล หรือแก๊สโซฮอลที่มีส่วนผสมของเอทานอลเกิน 10% เพราะอาจทำให้ระบบเชื้อเพลิงเสียหายได้ ห้ามผสมน้ำมันเครื่องกับน้ำมันเชื้อเพลิง

การเติมน้ำมัน

ความจุถังน้ำมัน: 26.5 ลิตร (7 แกลลอนสหรัฐ)

  1. จอดอุปกรณ์บนพื้นราบ ดับเครื่องยนต์ ดึงเบรกมือ และดึงกุญแจออก

  2. ทำความสะอาดรอบๆ ฝาถังน้ำมัน และเปิดออกมา (รูป 15)

    g010026
  3. เติมน้ำมันลงในถังจนกระทั่งระดับน้ำมันอยู่ใต้ช่องเติมเชื้อเพลิง 6-13 มม. (1/4-1/2 นิ้ว)

    Important: พื้นที่ในถังนี้เผื่อไว้ให้น้ำมันเชื้อเพลิงขยายตัว อย่าเติมน้ำมันมากเกินไป

  4. ปิดฝาถังน้ำมันให้แน่น

  5. เช็ดน้ำมันที่หก

การบำรุงรักษาประจำวัน

ระบบอินเตอร์ล็อคนิรภัย

ข้อควรระวัง

หากสวิตช์อินเตอร์ล็อคนิรภัยขาดหรือชำรุด อุปกรณ์อาจทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดการบาดเจ็บขึ้นได้

  • อย่าแก้ไขดัดแปลงสวิตช์อินเตอร์ล็อค

  • ตรวจสอบการทำงานของสวิตช์อินเตอร์ล็อคเป็นประจำทุกวัน และเปลี่ยนสวิตช์ที่เสียหายก่อนการใช้งานอุปกรณ์

การทำความเข้าใจระบบอินเตอร์ล็อคนิรภัย

ระบบอินเตอร์ล็อคนิรภัยป้องกันไม่ให้เครื่องยนต์สตาร์ท ยกเว้นกรณีที่คันควบคุมการขับเคลื่อนอยู่ในตำแหน่งเกียร์ว่าง

การทดสอบระบบอินเตอร์ล็อคนิรภัย

ระยะการซ่อมบำรุงขั้นตอนการบำรุงรักษา
ก่อนการใช้งานแต่ละครั้งหรือทุกวัน
  • ทดสอบระบบอินเตอร์ล็อคนิรภัย
    1. ถ้าเครื่องยนต์ทำงานอยู่ ให้ดับเครื่อง

    2. สตาร์ทเครื่องพร้อมกับดันคันควบคุมการขับเคลื่อนไปด้านหน้าหรือด้านหลังค้างไว้

      ไม่ควรสตาร์ทเครื่องยนต์

    3. ดันคันควบคุมการขับเคลื่อนไปยังตำแหน่งเกียร์ว่าง และสตาร์ทเครื่องยนต์

    4. เคลื่อนย้ายอุปกรณ์เข้าไปในสนาม

    5. เข้าเกียร์ PTO และลดระดับหัวเดือยลงมา

    6. ปล่อยคันควบคุมการขับเคลื่อนหรือดันไปยังตำแหน่งเกียร์ว่าง

      หัวเดือยควรจะยกขึ้นหรือหยุดหมุน

    หากระบบนิรภัยไม่ทำงานตามที่อธิบายไว้ข้างต้น ควรเรียกตัวแทนจำหน่ายของ Toro ที่ได้รับอนุญาตมาซ่อมแซมระบบนิรภัยทันที

    ระหว่างการปฏิบัติงาน

    ความปลอดภัยระหว่างการใช้งาน

    • เจ้าของ/ผู้ควบคุมสามารถป้องกันอุบัติเหตุได้ และยังเป็นผู้รับผิดชอบอุบัติเหตุที่อาจส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินด้วย

    • สวมใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสม รวมถึงอุปกรณ์ป้องกันดวงตา กางเกงขายาว รองเท้ากันลื่นที่แน่นหนา และอุปกรณ์ป้องกันการได้ยิน ถ้าผมยาวให้มัดไปข้างหลังและอย่าสวมใส่เสื้อผ้าหลวมหรือเครื่องประดับที่ยาวย้วย

    • อย่าใช้งานอุปกรณ์ขณะป่วย เหนื่อยล้า หรืออยู่ภายใต้ฤทธิ์ของแอลกอฮอล์หรือยาเสพติด

    • ห้ามนำอุปกรณ์ไปขนส่งผู้โดยสาร กันคนโดยรอบและสัตว์เลี้ยงออกห่างจากอุปกรณ์ขณะทำงาน

    • ใช้งานอุปกรณ์เฉพาะเมื่อมีทัศนวิสัยที่ดี เพื่อหลีกเลี่ยงหลุมบ่อหรืออันตรายที่มองไม่เห็นซ่อนอยู่

    • ดูแลให้มือและเท้าออกห่างจากเดือยเจาะ

    • มองไปข้างหลังและมองลงด้านล่างก่อนถอยอุปกรณ์ เพื่อให้แน่ใจว่าเส้นทางโล่ง

    • หยุดอุปกรณ์ ดับเครื่องยนต์ ดึงกุญแจออก รอให้ชิ้นส่วนเคลื่อนไหวทั้งหมดหยุดนิ่ง และตรวจสอบเดือยเจาะหลังจากชนวัตถุ หรือตรวจดูว่าอุปกรณ์สั่นผิดปกติหรือไม่ ซ่อมแซมความเสียหายทั้งหมดก่อนกลับไปใช้งานต่อ

    • ดูแลให้แรงดันล้ออยู่ในระดับที่เหมาะสมเสมอ

    • ลดความเร็วขณะขับเคลื่อนบนถนนหรือพื้นผิวที่ขรุขระ

    ความปลอดภัยบนทางลาด

    • ทางลาดเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการสูญเสียการควบคุมและอุบัติเหตุพลิกคว่ำ ซึ่งส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บร้ายแรงและการเสียชีวิตได้ คุณต้องดูแลรับผิดชอบความปลอดภัยในการใช้งานอุปกรณ์บนพื้นลาดเอียง การใช้งานอุปกรณ์บนพื้นลาดเอียงต้องใช้ความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น

    • ประเมินสภาพสถานที่เพื่อพิจารณาว่าทางลาดปลอดภัยสำหรับการใช้งานอุปกรณ์หรือไม่ รวมทั้งสำรวจสถานที่ ใช้เหตุและผลและวิจารณญาณที่ดีขณะสำรวจ

    • ตรวจสอบคำแนะนำสำหรับการใช้งานอุปกรณ์บนทางลาดด้านล่าง และตรวจสอบสภาพพื้นที่อีกครั้งเพื่อพิจารณาว่าคุณสามารถใช้งานอุปกรณ์ในบริเวณดังกล่าวในสภาวะการทำงานของวันนั้นได้หรือไม่ สภาพเส้นทางที่เปลี่ยนแปลงไปอาจจะส่งผลต่อการทำงานของอุปกรณ์บนพื้นลาดได้

    • หลีกเลี่ยงการสตาร์ท จอด หรือเลี้ยวอุปกรณ์บนทางลาด หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนความเร็วหรือทิศทางกะทันหัน ควรหักเลี้ยวช้า ๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป

    • อย่าใช้งานอุปกรณ์ในสภาวะที่แรงยึดเกาะ การเลี้ยว หรือความเสถียรของอุปกรณ์ไม่แน่นอน

    • เคลื่อนย้ายหรือทำสัญลักษณ์สิ่งกีดขวาง เช่น หลุมบ่อ แอ่ง เนิน หิน หรืออันตรายอื่นๆ ที่ซ่อนอยู่ เพราะหญ้าสูงอาจทำให้มองไม่เห็นสิ่งกีดขวาง ทางที่ไม่ราบเรียบอาจทำให้อุปกรณ์พลิกคว่ำได้

    • การใช้งานบนหญ้าเปียก บนพื้นลาด หรือบนเนิน อาจส่งผลให้อุปกรณ์สูญเสียการควบคุมได้ ล้อขับที่สูญเสียแรงลาก อาจส่งผลให้เกิดการไถล และไม่สามารถเบรกหรือเลี้ยวได้

    • ใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษเมื่อใช้งานอุปกรณ์ใกล้ทางชัน คลอง ทำนบ อันตรายจากน้ำ หรืออันตรายอื่นๆ อุปกรณ์จากพลิกคว่ำฉับพลันได้ หากล้อไต่ขอบหรือขอบลาดลง ดังนั้นควรเว้นระยะห่างที่ปลอดภัยระหว่างอุปกรณ์จากและอันตรายต่างๆ มาอยู่ในระยะที่ปลอดภัย

    การสตาร์ทเครื่องยนต์

    1. ปล่อยคันควบคุมการขับเคลื่อนและดึงเบรกมือ

    2. ใช้โช้คตามคำแนะนำต่อไปนี้

      • ก่อนสตาร์ทเครื่องยนต์เย็น ให้เลื่อนคันโยกส่วนควบคุมโช้คไปยังตำแหน่ง เปิด

      • เมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์แบบอุ่นหรือร้อน คุณไม่จำเป็นต้องใช้โช้คก็ได้

    3. ดันคันโยกลิ้นเร่งไปที่ตำแหน่ง เร็ว ก่อนสตาร์ทเครื่องยนต์เย็น

    4. บิดกุญแจสตาร์ทเพื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ หลังจากเครื่องยนต์สตาร์ทแล้ว ให้ปล่อยกุญแจ

      Important: ห้ามสตาร์ทเครื่องนานเกิน 10 วินาทีในแต่ละครั้ง หากเครื่องยนต์สตาร์ทไม่ติด ควรรอให้เครื่องยนต์เย็นลงสัก 30 วินาทีก่อนสตาร์ทใหม่ การไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้อาจทำให้มอเตอร์สตาร์ทไหม้ได้

    5. หลังจากสตาร์ทเครื่องยนต์แล้ว ดันส่วนควบคุมโช้คไปที่ตำแหน่งปิด หากเครื่องยนต์ดับหรือสตาร์ทติดยาก ให้ดันโช้คกลับมาที่ตำแหน่งเปิดสักสองสามวินาที จากนั้นดันคันโยกลิ้นเร่งไปยังการตั้งค่าที่ต้องการ ทำซ้ำตามที่จำเป็น

    การดับเครื่องยนต์

    1. ปรับคันโยกลิ้นเร่งไปยังตำแหน่งช้า

    2. ปล่อยให้เครื่องยนต์เดินรอบเบา 60 วินาที

    3. บิดกุญแจสตาร์ทไปยังตำแหน่งปิดและดึงกุญแจออก

    4. ปิดวาล์วตัดการจ่ายเชื้อเพลิงก่อนเคลื่อนย้ายหรือจัดเก็บอุปกรณ์

      Important: ปิดวาล์วตัดการจ่ายเชื้อเพลิงก่อนเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ด้วยรถลากพ่วงหรือจัดเก็บอุปกรณ์ ดึงเบรกมือไว้ก่อนจะเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ ดึงกุญแจออกเพื่อป้องกันไม่ให้ปั๊มเชื้อเพลิงทำงาน และเป็นสาเหตุให้สิ้นเปลืองประจุแบตเตอรี่

      ข้อควรระวัง

      เด็กๆ หรือผู้ที่อยู่รอบข้างอาจได้รับบาดเจ็บหากพยายามจะขยับหรือใช้งานอุปกรณ์ที่จอดทิ้งไว้โดยไม่มีผู้ดูแล

      ดังนั้นให้ดึงกุญแจสตาร์ทออกเสมอ และดึงเบรกมือเมื่อต้องจอดอุปกรณ์ทิ้งไว้โดยไม่มีผู้ดูแล แม้เพียงไม่กี่นาทีก็ตาม

    การใช้งานอุปกรณ์

    1. สตาร์ทเครื่องยนต์

    2. ปลดเบรกมือ

    3. ตรวจสอบเส้นทางที่วางแผนว่าจะใช้งานอุปกรณ์เพื่อให้แน่ใจว่าปราศจากอุปสรรคกีดขวาง

    4. ดันคันควบคุมการขับเคลื่อนลงเพื่อบังคับอุปกรณ์เดินหน้า

      เดินไปข้างหน้าขณะใช้งานอุปกรณ์ ห้ามหันหลังขณะเดินใช้งานอุปกรณ์

    5. เข้าเกียร์ PTO และลดระดับหัวเดือยลงมา

    6. ปลดเกียร์ PTO และยกหัวเดือยขึ้น

    7. หากต้องการหยุดอุปกรณ์ ให้ปล่อยคันควบคุมการขับเคลื่อน

    การตั้งค่าความลึกในการเจาะ

    1. จอดอุปกรณ์บนพื้นราบ ดับเครื่องยนต์ ดึงเบรกมือ และดึงกุญแจออก

    2. เลือกเดือยเจาะที่เหมาะกับการใช้งาน

    3. วางเดือยเจาะบนป้ายแสดงระดับความลึก (รูป 16) โดยให้ปลายเดือยหนึ่งตรงกับระดับความลึกในการเติมอากาศที่ต้องการ (โปรดดูแผ่นโอเวอร์เลย์ที่อยู่บนป้าย)

      g010035
    4. ตรวจสอบค่าตัวอักษรที่ตรงกับปลายอีกด้านหนึ่งของเดือยเจาะและเลื่อนคันควบคุมความลึกไปยังค่าตัวอักษรที่ตรงกัน

    Note: เมื่อเดือยเจาะสึกหรอลงเรื่อยๆ คุณสามารถรีเซ็ตการตั้งค่าความลึกให้เหมาะกับการสึกหรอของเดือยเจาะได้ ตัวอย่างเช่น หากการตั้งค่าความลึกของเดือยเจาะใหม่ทำให้คุณได้ค่าตัวอักษรเป็น G คุณจะรีเซ็ตเป็นค่า H ได้เมื่อเดือยเจาะสึกหรอไป 6 มม. (1/4 นิ้ว)

    ใช้ตัวช่วยจัดแนว

    จัดแนวการเติมอากาศโดยใช้ตัวช่วยจัดแนว (รูป 17)

    g010050

    การหนุนหัวเดือยด้วยสลักซ่อมบำรุง

    ใส่สลักซ่อมบำรุงก่อนจะทำการซ่อมบำรุงหัวเดือย หรือเมื่อต้องจัดเก็บอุปกรณ์ไว้นานกว่าสองหรือสามวัน

    อันตราย

    หากยกหัวเดือยขึ้นโดยไม่ได้ใส่สลักยึดไว้ หัวเดือยอาจจะตกลงมาอย่างกะทันหัน ทำให้คุณหรือผู้ที่อยู่รอบข้างบาดเจ็บได้

    เมื่อคุณต้องซ่อมบำรุงหัวเดือย รวมถึงตอนเปลี่ยนเดือยเจาะหรือแผงป้องกันสนาม ควรใช้สลักซ่อมบำรุงยึดหัวเดือยไว้ในตำแหน่งยกขึ้น

    1. ยกหัวเดือยขึ้น

    2. จอดอุปกรณ์บนพื้นราบ ดับเครื่องยนต์ ดึงเบรกมือ และดึงกุญแจออก

    3. ถอดแหวนหนีบที่ยึดสลักซ่อมบำรุงไว้ในตำแหน่งจัดเก็บออก (รูป 18)

      g010036
    4. หมุนสลักซ่อมบำรุงไปด้านหลังและสอดลงบนหมุดของหัวเดือย (รูป 19) ยึดสลักด้วยแหวนหนีบ

      g010037

    การเตรียมอุปกรณ์เพื่อใช้ระบบปรับระดับตามพื้นดินด้วยตัวเอง

    ตัวคั่นสำหรับตั้งค่าความลึกด้วยตัวเองจำเป็นต้องใช้เฉพาะในกรณีที่ระบบปรับระดับตามพื้นดิน TrueCore® ไม่ทำงานเนื่องจากระบบป้อนกลับเสียหาย (แผงป้องกันสนาม เหล็กยึด และชุดแอคชูเอเตอร์) หรือหากคุณต้องการใช้ความลึกในการเจาะมากที่สุด

    1. จอดอุปกรณ์บนพื้นราบ ดับเครื่องยนต์ ดึงเบรกมือ และดึงกุญแจออก

    2. ถอดหมุดสลักที่ใช้ยึดตัวคั่นและหมุดปรับความลึกออก (รูป 20)

      g010043
    3. วางตัวคั่นไว้ด้านบนหรือด้านล่างหูยึดเพื่อให้ได้ความลึกในการเจาะที่ต้องการ

      • ตัวคั่นแบบหนาจะเพิ่มความลึกได้ 19 มม. (3/4 นิ้ว)

      • ตัวคั่นแบบบางจะเพิ่มความลึกได้ 9.5 มม. (3/8 นิ้ว)

      • หากวางตัวคั่นทั้งหมดไว้ด้านบน ค่าความลึกจะเท่ากับ 10.7 ซม. (4-1/4 นิ้ว)

    4. ถอดสลักเกลียวและน็อตล็อคออกจากสวิตช์ตัวเลือก (รูป 21)

      g010044
    5. หมุนสวิตช์ไปยังตำแหน่งลงเพื่อปิดฟีเจอร์ True Core

    6. ติดตั้งสลักเกลียวและน็อตล็อคเพื่อป้องกันไม่ให้การตั้งค่าเปลี่ยนไปจากเดิมโดยไม่ตั้งใจ

    การติดตั้งแผงยึดเดือยเจาะ แผงป้องกันสนาม และเดือยเจาะ

    แผงยึดเดือยเจาะ แผงป้องกันสนาม และเดือยเจาะสำหรับใช้งานร่วมกับอุปกรณ์มีหลายแบบให้เลือก เลือกองค์ประกอบที่จำเป็นตามตารางอุปกรณ์เสริมในหัวข้ออุปกรณ์ต่อพ่วงและอุปกรณ์เสริม

    1. ยกหัวเดือยขึ้นและล็อคไว้ในตำแหน่งด้วยสลักซ่อมบำรุง

    2. จอดอุปกรณ์บนพื้นราบ ดับเครื่องยนต์ ดึงเบรกมือ และดึงกุญแจออก

    3. ติดตั้งแผงยึดเดือยเจาะเข้ากับแขนเดือยเจาะแต่ละอัน (รูป 22) ด้วยสลักเกลียว (1/2 x 1-1/4 นิ้ว) 3 ตัว ขันสลักจนถึงได้แรงบิด 101.6 นิวตันเมตร (75 นิ้วปอนด์)

      Note: สลักเกลียวเป็นชิ้นส่วนที่รวมอยู่ในชุดแผงยึดเดือยเจาะ

      g010038
    4. ติดตั้งแผงป้องกันสนามเข้ากับโครงยึดแผงป้องกันสนามหลวมๆ โดยใช้ตัวหนีบแผงป้องกันสนาม 4 ตัวและน็อตมีบ่า 12 ตัว (รูป 23) อย่าเพิ่งขันน็อตจนแน่น

      Note: ตัวหนีบแผงป้องกันสนามและน็อตมีบ่าติดตั้งอยู่บนโครงยึดแผงป้องกันสนามมาแล้วจากโรงงาน (รูป 23)

      g010039
    5. ติดตั้งตัวหนีบเดือยเจาะเข้ากับแผงยึดเดือยเจาะแต่ละอัน (รูป 24) ด้วยสลักเกลียว (3/8 x 1-1/2 นิ้ว) 4 ตัว อย่าเพิ่งขันสลักเกลียวจนแน่น

      g010041
    6. ติดตั้งเดือยเจาะเข้ากับแผงยึดเดือยเจาะหมายเลข 2 และ 5 (รูป 25) แล้วขันสลักเกลียว

      g010040
    7. ตรวจสอบให้เดือยเจาะอยู่ตรงกลางของช่องว่างบนแผงป้องกันสนาม (รูป 26) ปรับแผงป้องกันสนามตามที่จำเป็น แล้วขันน็อตให้แน่น

      g010042
    8. ติดตั้งเดือยเจาะที่เหลือเข้ากับตัวแผงยึดเดือยเจาะหมายเลข 1, 3, 4 และ 6 ขันสลักเกลียวทุกตัวของแผงยึดเดือยเจาะจนได้แรงบิด 40.6 นิวตันเมตร (30 ปอนด์)

    การเปลี่ยนเดือยเจาะ

    โปรดดูภาพประกอบใน การติดตั้งแผงยึดเดือยเจาะ แผงป้องกันสนาม และเดือยเจาะ

    1. ยกหัวเดือยขึ้นและล็อคไว้ในตำแหน่งด้วยสลักซ่อมบำรุง

    2. จอดอุปกรณ์บนพื้นราบ ดับเครื่องยนต์ ดึงเบรกมือ และดึงกุญแจออก

    3. คลายสลักเกลียวที่ใช้ยึดแผงยึดเดือยเจาะ แล้วถอดเดือยเจาะอันเก่าออก

    4. ใส่เดือยเจาะอันใหม่เข้าไปในแผงยึดเดือยเจาะ

    5. ขันสลักเกลียวด้วยแรงบิดตามที่แนะนำ

    6. ทำซ้ำขั้นตอนนี้กับแขนส่วนที่เหลือ

    การปรับการถ่ายโอนน้ำหนัก

    อุปกรณ์จะถ่ายโอนน้ำหนักจากรถลากพ่วงไปยังหัวเดือยเพื่อช่วยในการรักษาระดับความลึกของรูเจาะในดินที่มีโครงสร้างแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม หากดินแข็งมากจนไม่สามารถเจาะเติมอากาศได้เต็มความลึกที่กำหนด หัวเดือยอาจต้องใช้การถ่ายโอนน้ำหนักเพิ่มเติม หากต้องการเพิ่มแรงกดของสปริงถ่ายโอนน้ำหนัก ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้:

    คำเตือน

    การปลดแผงสปริงอย่างกะทันหันอาจทำให้บาดเจ็บได้

    ควรขอให้คนอื่นช่วยปรับสปริงถ่ายโอนน้ำหนัก

    1. จอดอุปกรณ์บนพื้นราบ ดับเครื่องยนต์ ดึงเบรกมือ และดึงกุญแจออก

    2. คลายน็อตหัวกลมคอเหลี่ยมที่ยึดโครงสปริงเข้ากับหัวเดือย (รูป 27) ให้หลวม แต่ไม่ต้องถอดออกมา

      g010051
    3. สอดเฟืองล้อหรือเบรกเกอร์บาร์ขนาด 1/2 นิ้วลงในช่องสี่เหลี่ยมบนแผงสปริง (รูป 28)

      g010052
    4. จับเฟืองล้อหรือเบรกเกอรบาร์เอาไว้เพื่อคลายแรงตึงบนแผงสปริง จากนั้นถอดน็อตหัวกลมคอเหลี่ยมด้านหลังออก

    5. หมุนแผงสปริงจนกระทั่งอยู่ในแนวเดียวกับอีกรูหนึ่ง จากนั้นใส่น็อตหัวกลมคอเหลี่ยม แล้วขันน็อต

      Note: การหมุนแผงสปริงขึ้นด้านบนจะเป็นการเพิ่มการถ่ายโอนน้ำหนัก

    การเพิ่มน้ำหนัก

    หลังจากเพิ่มการถ่ายโอนน้ำหนักเข้าไป เมื่อคุณเติมอากาศบริเวณดินแข็งมากพอ การถ่ายโอนน้ำหนักอาจจะทำให้ล้อหลังทั้งสองลอยขึ้นจากพื้น ส่งผลให้ระยะห่างระหว่างรูเจาะไม่สม่ำเสมอกัน

    หากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น คุณสามารถติดตั้งแผ่นน้ำหนักเพิ่มไปยังท่อเพลาของโครงด้านหลังได้ แผ่นน้ำหนักหล่อแต่ละแผ่นจะเพิ่มน้ำหนักให้กับอุปกรณ์ 28.5 กก. (63 ปอนด์) โดยคุณจะติดตั้งแผ่นน้ำหนักได้ไม่เกิน 2 แผ่น โปรดดูหมายเลขอะไหล่จากแค็ตตาล็อกอะไหล่

    การเข็น/ลากจูงอุปกรณ์ด้วยมือ

    Important: ห้ามลากจูงอุปกรณ์ด้วยความเร็วกว่า 1.6 กม./ชม. (1 ไมล์ต่อชม.) เพราะอาจทำให้ส่วนประกอบของระบบไฮดรอลิกเสียหายได้

    1. จอดอุปกรณ์บนพื้นราบ ดับเครื่องยนต์ ดึงเบรกมือ และดึงกุญแจออก

    2. หาตำแหน่งของวาล์วบายพาสที่อยู่ระหว่างเครื่องยนต์กับปั๊มไฮดรอลิก (รูป 29)

    3. ใช้ประแจขนาด 5/8 นิ้ว หมุนวาล์วบายพาสทวนเข็มนาฬิกา 1 รอบ วิธีนี้จะทำให้น้ำมันไฮดรอลิกไหลไปที่ปั๊ม ช่วยให้ล้อหมุนได้ (รูป 29)

      g010045

      Important: อย่าหมุนวาล์วบายพาสมากกว่า 1 รอบ เพื่อป้องกันไม่ให้วาล์วหลุดออกมาจากตัวเรือนและทำให้น้ำมันไหลออกมา

      Important: ห้ามเข็น/ลากจูงอุปกรณ์เป็นระยะทางเกินกว่า 30.5 ม. (100 ฟุต) หรือเร็วกว่า 0.6 กม./ชม. (1 ไมล์/ชม.) เพราะอาจทำให้ส่วนประกอบของระบบไฮดรอลิกเสียหายได้

    4. ปลดเบรกมือก่อนเข็น/ลากจูงอุปกรณ์

      Important: ห้ามใช้งานอุปกรณ์ขณะเปิดวาล์วบายพาสนานกว่า 10 ถึง 15 วินาที

    5. เมื่อต้องการกลับมาใช้งานอุปกรณ์อีกครั้ง ให้หมุนวาล์วบายพาสตามเข็มนาฬิกา 1 รอบ (รูป 29)

      Note: อย่าขันวาล์วบายพาสแน่นเกินไป

      Note: คุณต้องปิดวาล์วบายพาสก่อนเพื่อขับเคลื่อนอุปกรณ์ อย่าพยายามใช้งานระบบขับเคลื่อนขณะที่วาล์วบายพาสเปิดอยู่

    การรีเซ็ตวงจรควบคุมระบบ

    หากหัวเดือยยังอยู่ในตำแหน่งเติมอากาศ (เพราะเชื้อเพลิงหมด ลืมติดตั้งสลักซ่อมบำรุงสำหรับจัดเก็บ กลไกการทำงานของเครื่องยนต์หรือปั๊มไม่ทำงาน ฯลฯ) ระบบไฟฟ้าที่ควบคุมคอยล์โซเลนอยด์ไฮดรอลิกและคลัตช์ไฟฟ้าจะไม่ทำงานเพื่อป้องกันไม่ให้หัวเดือยเคลื่อนที่โดยไม่ตั้งใจโดยที่ยังไม่มีการรีเซ็ตระบบ

    1. สตาร์ทเครื่องยนต์

    2. กดสวิตช์รีเซ็ตระบบ (รูป 30)

      หัวเดือยจะยกขึ้น และวงจรควบคุมทางไฟฟ้าจะรีเซ็ต

      Note: หากเครื่องยนต์สตาร์ทไม่ติด ให้กระตุกเครื่องยนต์ด้วยสตาร์ทเตอร์พร้อมกับกดสวิตช์รีเซ็ตระบบจนกระทั่งหัวเดือยพ้นจากระดับพื้นดิน

      g010046

    การเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ขณะที่หัวเดือยอยู่ในตำแหน่งยกลง

    หากเครื่องยนต์ไม่ทำงานหรือสตาร์ทไม่ติดในระหว่างที่หัวเดือยอยู่ในตำแหน่งยกลงและเดือยเจาะค้างอยู่ในดิน ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

    1. ถอดแผงยึดเดือยเจาะออกจากแขนเจาะ

    2. เปิดวาล์วบายพาสโดยหมุน 1 รอบ

    3. ลากจูง/เข็นอุปกรณ์ไปยังบริเวณใกล้ๆ เพื่อซ่อมบำรุงหรือบรรทุกขึ้นรถลากพ่วงต่อไป

    Important: ห้ามลากจูง/เข็นอุปกรณ์เป็นระยะทางเกินกว่า 30.5 ม. (100 ฟุต) หรือเร็วกว่า 1.6 กม./ชม. (1 ไมล์/ชม.) เพราะอาจทำให้ระบบไฮดรอลิกเสียหายได้

    เคล็ดลับการปฏิบัติงาน

    คำแนะนำทั่วไป

    คำเตือน

    หากสัมผัสกับสิ่งกีดขวาง อุปกรณ์อาจทำให้คุณเสียการควบคุมได้

    คอยระวังสิ่งกีดขวางในพื้นที่ทำงานอยู่เสมอ วางแผนเส้นทางเติมอากาศเพื่อปกป้องทั้งคุณและอุปกรณ์จากสิ่งกีดขวาง

    • ระหว่างเติมอากาศ ให้ค่อยๆ เลี้ยวอุปกรณ์ ห้ามเลี้ยวหักศอกขณะกำลังใช้งานหัวเดือยอย่างเด็ดขาด วางแผนเส้นทางเติมอากาศให้เรียบร้อยก่อนลดระดับเครื่องเติมอากาศลงมา

    • คอยสังเกตอยู่ตลอดเวลาว่าทิศทางด้านหน้ามีสิ่งใดอยู่บ้าง หลีกเลี่ยงการใช้งานอุปกรณ์ใกล้กับอาคาร รั้ว และอุปกรณ์อื่นๆ

    • มองไปด้านหลังบ่อยๆ เพื่อตรวจสอบว่าอุปกรณ์ทำงานได้ตามปกติ และคุณยังอยู่ในแนวการเติมอากาศก่อนหน้า

    • กำจัดชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่เสียหายออกจากพื้นที่ทำงานให้หมด เช่น เดือยเจาะที่แตกหัก ฯลฯ เพื่อป้องกันไม่ให้กระทบกับเครื่องตัดหญ้าหรืออุปกรณ์บำรุงรักษาสนามชนิดอื่นๆ

    • เปลี่ยนเดือยเจาะที่แตกหักเป็นอันใหม่ ตรวจสอบและซ่อมแซมความเสียหายของอันที่ยังใช้งานได้ รวมทั้งซ่อมความเสียหายอื่นๆ ของอุปกรณ์ก่อนเริ่มใช้งาน

    • เมื่อเติมอากาศแบบไม่เต็มความกว้างของอุปกรณ์ คุณสามารถถอดเดือยเจาะออก แต่ควรเก็บหัวเดือยเอาไว้บนแขนเจาะเพื่อรักษาสมดุลและทำให้อุปกรณ์ทำงานได้ตามปกติ

    • อุปกรณ์นี้เจาะรูเติมอากาศได้ลึกกว่าเครื่องเติมอากาศสนามกรีนส่วนใหญ่ แต่สำหรับสนามกรีนและแท่นทีเก่าหรือที่ยกระดับใหม่ ซึ่งต้องเจาะลึกกว่าและใช้เดือยเจาะกลวงที่ยาวกว่า การดันแกนดินออกมาทั้งหมดอาจจะทำได้ยาก เพราะดินเดิมจะแข็งกว่าและติดอยู่กับปลายของเดือยเจาะ ในกรณีแบบนี้ เดือยเจาะแบบดันแกนดินออกด้านข้างสำหรับสนามกรีน/แท่นทีจาก Toro จะคงความสะอาดได้นานกว่า และช่วยลดเวลาในการทำความสะอาดเดือยเจาะได้เป็นอย่างดี การเติมอากาศและโรยทรายอย่างต่อเนื่องจะสามารถลดความแข็งของดินได้ในที่สุด

    ดินแข็ง

    หากดินแข็งเกินไปจนไม่สามารถเจาะดินได้ตามความลึกที่ต้องการ หัวเดือยอาจจะกระเด้งกระดอนเป็นระยะๆ เพราะเดือยพยายามจะเจาะผ่านชั้นดินดานลงไป แนะนำให้แก้ไขโดยพยายามทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

    • อย่าเพิ่งเติมอากาศหากดินแข็งหรือแห้งเกินไป ควรรอหลังจากฝนตกหรือรดน้ำสนามหนึ่งวัน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

    • เปลี่ยนมาใช้หัวแบบ 3 เดือยเจาะ หากได้พยายามใช้หัวแบบ 4 เดือยเจาะแล้ว หรือลดจำนวนเดือยเจาะต่อแขนเจาะลง พยายามติดตั้งเดือยเจาะเป็นรูปแบบที่สมมาตรกันเพื่อกระจายน้ำหนักไปยังแขนเจาะเท่าๆ กัน

    • หากดินอัดแน่นและแข็งมาก ควรลดระดับการเจาะเติมอากาศลง (ค่าความลึก) กำจัดแกนดินออกจากสนาม รดน้ำสนาม แล้วค่อยเติมอากาศอีกครั้งโดยใช้ความลึกมากขึ้น

    การเติมอากาศดินประเภทต่างๆ ที่อยู่บนดินชั้นล่าง (กล่าวคือเป็นดิน/ทรายที่ปกคลุมอยู่บนดินที่เต็มไปด้วยหิน) อาจทำให้คุณภาพหลุมไม่เป็นไปตามต้องการ เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นเมื่อเจาะเติมอากาศลงไปลึกกว่าระดับดินชั้นบน และดินชั้นล่างแข็งเกินจนเจาะไม่ได้ เมื่อเดือยเจาะสัมผัสกับดินชั้นล่างที่แข็งกว่า อุปกรณ์เติมอากาศอาจจะยกขึ้น และส่งผลให้ด้านบนของรูเจาะยาวกว่าเดิม ดังนั้น ควรปรับลดความลึกในการเติมอากาศอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันการเจาะไปจนถึงชั้นดินแข็งที่อยู่ด้านล่าง

    คุณภาพการเข้า/ออกจากรูเจาะ

    หากอุปกรณ์ให้ผลลัพธ์ดังต่อไปนี้ แสดงว่าคุณภาพการเข้า/ออกจากรูเจาะกำลังลดลง

    • รูเจาะเป็นทางยาว (ลากไปด้านหน้า) ตอนที่เจาะเข้า

    • หัวเดือยไม่ได้เริ่มทำงานก่อนจะสัมผัสพื้นสนาม

    • หัวเดือยครูดกับพื้นสนามตอนเจาะเข้า หรือเด้งออกเมื่อเจาะรูเติมอากาศที่ไม่ลึกมาก

    ให้ตรวจสอบสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้

    การปรับสวิตช์ตรวจจับระยะหมายเลข 4

    คุณสามารถวางสวิตช์ตรวจจับระยะหมายเลข 4 ได้สองตำแหน่งบนโครงยึดสวิตช์ตรวจจับระยะ ได้แก่ วางไว้ด้านบน หากต้องการตั้งค่าความลึกในการเติมอากาศตั้งแต่ A-D และวางไว้ด้านล่าง หากต้องการตั้งค่าความลึกในการเติมอากาศตั้งแต่ E-H

    Note: อุปกรณ์ที่มาจากโรงงานจะมีการวางสวิตช์ตรวจจับระยะหมายเลข 4 ไว้ที่ด้านล่างเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความลึกของรูเจาะตอนเริ่มเจาะ และควรใช้ตำแหน่งนี้สำหรับการเติมอากาศส่วนใหญ่

    การเติมอากาศโดยติดตั้งสวิตช์ตรวจจับระยะหมายเลข 4 ไว้ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะกับการตั้งค่าความลึกในการเจาะอาจทำให้หัวเดือยเด้งออก เจาะลึกเกินไป และ/หรือทำให้ครูดกับสนามได้ ดังนั้น ควรปรับสวิตช์ตรวจจับระยะหมายเลข 4 โดยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

    1. จอดอุปกรณ์บนพื้นราบ ดึงเบรกมือ ดับเครื่องยนต์ ดึงกุญแจออก และรอให้การเคลื่อนไหวหยุดนิ่งก่อนจะลุกออกจากอุปกรณ์

    2. ยกคันสลักของฝาครอบขึ้น จากนั้นยกฝาครอบออกจากอุปกรณ์ (รูป 31)

      g261627
    3. หาตำแหน่งของชุดสวิตช์ตรวจจับระยะบนโครง H (รูป 32)

    4. ติดตั้งสวิตช์หมายเลข 4 ในตำแหน่งที่เหมาะกับความลึกในการเจาะดังที่แสดงใน รูป 32

      g261628g364784
    5. จัดวางโครงยึดฝาครอบให้ตรงกับตัวติดตั้งฝาครอบบนอุปกรณ์

    6. ประกอบฝาครอบเข้ากับอุปกรณ์ และตรวจสอบให้แน่ใจว่าสลักยึดฝาครอบไว้แน่นหนาดีแล้ว

    7. ตรวจสอบคุณภาพการเข้า/ออกจากรูเจาะ

    การปรับสวิตช์ตรวจจับระยะหมายเลข 3

    1. จอดอุปกรณ์บนพื้นราบ ดึงเบรกมือ ดับเครื่องยนต์ ดึงกุญแจออก และรอให้การเคลื่อนไหวหยุดนิ่งก่อนจะลุกออกจากอุปกรณ์

    2. ยกคันสลักของฝาครอบขึ้น จากนั้นยกฝาครอบออกจากอุปกรณ์ (รูป 31)

    3. ตรวจสอบว่าชุดสวิตช์ตรวจจับระยะ (ด้านนอกของโครง H) อยู่ห่างจากแผงเป้าหมายไม่เกิน 1.5 มม. (0.06 นิ้ว) (รูป 33)

      g261628g261629
    4. ตรวจสอบว่าสวิตช์ตรวจจับระยะหมายเลข 3 ทำงานอย่างถูกต้อง

    5. ถ้าจำเป็น ให้คลายน็อตล็อคและน็อตหัวกลมคอเหลี่ยมที่ยึดแผงติดตั้งสวิตช์ แล้วยกแผงขึ้นจนถึงตำแหน่งสูงสุด จากนั้นขันน็อตยึดให้แน่นหนารูป 33

      Note: การยกสวิตช์ขึ้นจะทำให้คลัตช์ทำงานเร็วขึ้น

    6. ขันน็อตล็อคให้แน่น (รูป 33)

    7. จัดวางโครงยึดฝาครอบให้ตรงกับตัวติดตั้งฝาครอบบนอุปกรณ์

    8. ประกอบฝาครอบเข้ากับอุปกรณ์ และตรวจสอบให้แน่ใจว่าสลักยึดฝาครอบไว้แน่นหนาดีแล้ว

    9. ตรวจสอบคุณภาพการเข้า/ออกจากรูเจาะ

      Important: หากหัวเดือยไม่เริ่มทำงานก่อนเริ่มเจาะและสวิตช์ตรวจจับตำแหน่งติดตั้งไว้สูงที่สุดเท่าที่ทำได้แล้ว แสดงว่าคลัตช์อาจจะเสื่อมสภาพจนทำให้เดือยทำงานช้า โปรดติดต่อตัวแทนจำหน่ายของ Toro ที่ได้รับอนุญาตหรือดูคู่มือซ่อมบำรุง

    เดือยเจาะขนาดเล็ก (เดือย Quad)

    เนื่องจากออกแบบมาให้เป็นสองแถว หัวเดือยขนาดเล็กจึงต้องตั้งค่าระยะห่างรูเจาะไว้ที่ 6.3 มม. (2-1/2 นิ้ว) นอกจากนี้ ความเร็วในการขับเคลื่อนบนพื้นยังสำคัญอย่างมากต่อลักษณะของการเว้นระยะห่างระหว่างรูเจาะ 3.2 มม. (1-1/4 นิ้ว) ด้วย โปรดดู การปรับระยะห่างของรูเจาะ หากระยะห่างของรูเจาะเปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อย

    เมื่อใช้หัวเดือยขนาดเล็กหรือเดือยเจาะแบบตันขนาดใหญ่ โครงสร้างรากของสนามหญ้าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะป้องกันไม่ให้สนามเสียหายเนื่องจากชั้นรากฉีกขาด หาก 2 แขนตรงกลางเริ่มจะดันหญ้าขึ้นมาหรือทำให้ชั้นรากเสียหายมากเกินไป ให้ดำเนินการต่อไปนี้

    • เพิ่มระยะห่างของรูเจาะ

    • ลดขนาดเดือยเจาะลง

    • ลดความลึกของเดือยเจาะลง

    • ถอดเดือยเจาะบางส่วนออก

    การยกตัวตอนที่เดือยเจาะแบบตันถูกดึงขึ้นมาจากสนาม อาจทำให้สนามเสียหายได้ โดยอาจจะทำให้ชั้นรากฉีกขาดหากความหนาแน่นหรือเส้นผ่านศูนย์กลางของเดือยเจาะสูงเกินไป

    ปากรูเจาะเป็นรอยนูนหรือดันขึ้นมา (เดือยเจาะแบบตันหรือสภาพดินอ่อน)

    เมื่อเติมอากาศด้วยเดือยเจาะแบบตันที่ยาวขึ้น (กล่าวคือยาว 3/8 x 4 นิ้ว) หรือเดือยเจาะแบบเข็ม ปากรูเจาะอาจจะลากเป็นทางยาวหรือครูดไปกับสนาม ในกรณีนี้ หากต้องการให้รูเจาะมีคุณภาพสูง ควรลดความเร็วรอบเดินเบาของเครื่องยนต์เป็น 2800 ถึง 2900 รอบต่อนาที เนื่องจากความเร็วในการขับเคลื่อนและความเร็วของหัวเดือยจะเพิ่มขึ้นและลดลงตามความเร็วของเครื่องยนต์ ดังนั้นระยะห่างของรูเจาะจะไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด

    แต่หากลดความเร็วของเครื่องยนต์ลงแล้วยังแก้ปัญหาคุณภาพรูเจาะของเดือยเจาะแบบตันขนาดใหญ่ไม่ได้ อาจจำเป็นต้องปรับค่ากลไกแดมป์เปอร์ Roto-Link ให้แข็งขึ้น ซึ่งการตั้งค่า Roto-Link อาจจะช่วยป้องกันไม่ให้ปากรูเจาะบิดเบี้ยวได้ อย่างไรก็ตาม การตั้งค่าเริ่มต้นจากโรงงานมักจะให้ผลดีที่สุดในกรณีส่วนใหญ่

    Note: ลองปรับ Roto-Links ครึ่งหนึ่ง (3 แขน) แล้วทดสอบดูความแตกต่างบนบริเวณที่ใช้ทดลอง

    1. จอดอุปกรณ์บนพื้นราบ ดับเครื่องยนต์ ดึงเบรกมือ และดึงกุญแจออก

    2. ถอดน็อตล็อคที่ยึดชุดแดมป์เปอร์ Roto-Link เข้ากับโครงหัวเดือยออก

    3. ถอดตัวคั่นแดมเปอร์ด้านบนที่หนา 1.25 ซม. (1/2 นิ้ว) ออก แล้วยึดชุดแดมเปอร์ Roto-Link เข้ากับโครงหัวเดือยให้แน่นหนาอีกครั้ง อย่าลืมใช้แหวน D แบบชุบแข็ง

    4. คลายสลักเกลียวที่ยึดแผ่นกันกระแทกออก

    5. เลื่อนแผ่นกันกระแทกไปด้านหน้าและยึดด้วยสลักเกลียว วิธีนี้จะช่วยให้แผ่นกันกระแทกของ Roto-Link แกว่งได้อย่างอิสระ

    เคลื่อนย้ายอุปกรณ์ไปยังบริเวณทดลองใช้งาน แล้วเปรียบเทียบคุณภาพหลุม หากคุณภาพหลุมดีขึ้น ให้ทำซ้ำขั้นตอนเดียวกันนี้กับชุดแดมป์เปอร์ Roto-Link ส่วนที่เหลือ

    Note: หากต้องการเปลี่ยนกลับมาใช้เดือยเจาะแกนหรือเดือยเจาะขนาดเล็ก คุณต้องกลับตำแหน่งของแดมป์เปอร์ Roto-Link

    หลังการปฏิบัติงาน

    ความปลอดภัยหลังจากการใช้งาน

    • จอดอุปกรณ์บนพื้นราบ ดึงเบรกมือ ดับเครื่องยนต์ ดึงกุญแจออก และรอให้การเคลื่อนไหวหยุดนิ่งก่อนจะลุกออกจากอุปกรณ์

    • ดูแลรักษาให้ชิ้นส่วนทั้งหมดของอุปกรณ์มีสภาพดีและทำงานได้ตามปกติ และขันชิ้นส่วนทั้งหมดให้แน่นหนา

    • เปลี่ยนป้ายที่สึกหรอ ชำรุด หรือหายไป

    การทำความสะอาดอุปกรณ์

    ระยะการซ่อมบำรุงขั้นตอนการบำรุงรักษา
    ก่อนการใช้งานแต่ละครั้งหรือทุกวัน
  • ทำความสะอาดอุปกรณ์
    1. ล้างอุปกรณ์อย่างทั่วถึง

      ใช้แปรงขจัดสิ่งสกปรกสะสมออก

      Note: ใช้สายยางที่ไม่มีหัวฉีดเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลผ่านซีลเข้าไปปนเปื้อนจาระบีบนแบริ่ง

    2. ทำความสะอาดฝาครอบโดยใช้สารทำความสะอาดที่มีฤทธิ์อ่อน

      หลังทำความสะอาดเสร็จ ให้เคลือบด้วยแว็กซ์สำหรับยานยนต์เป็นประจำเพื่อให้ฝาครอบมันวาวอยู่เสมอ

    3. ตรวจสภาพอุปกรณ์เพื่อหาความเสียหาย น้ำมันรั่ว รวมทั้งส่วนประกอบและเดือยเจาะที่สึกหรอ

    4. ถอดเดือยเจาะออก ทำความสะอาด และเคลือบน้ำมัน พ่นละอองน้ำมันบางๆ บนแบริ่งหัวเจาะ (ก้านโยงข้อเหวี่ยงและแดมเปอร์)

    Important: หากจัดเก็บอุปกรณ์ไว้นานกว่าสองหรือสามวัน ให้ใช้สลักซ่อมบำรุงยึดหัวเดือยไว้

    การหาตำแหน่งจุดผูกยึด

    จุดผูกยึดอยู่ตรงด้านหน้าและด้านหลังของอุปกรณ์ (รูป 34รูป 35 และ รูป 36)

    Note: ใช้สายที่ผ่านการรับรองจาก DOT และมีคุณสมบัติที่เหมาะสมเท่านั้นมาผูกยึดกับอุปกรณ์

    g010047
    g010048
    g010049

    การบรรทุกอุปกรณ์

    คำเตือน

    การขับอุปกรณ์บนถนนหรือเส้นทางโดยไม่มีไฟเลี้ยว ไฟส่องสว่าง เครื่องหมายสะท้อนแสง หรือป้ายรถเคลื่อนที่ช้านั้นเป็นอันตราย อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บได้

    ห้ามขับอุปกรณ์นี้บนถนนหรือทางสาธารณะ

    Important: ใช้ทางลาดแบบเต็มความกว้างเพื่อย้ายอุปกรณ์ขึ้นรถพ่วงหรือรถบรรทุก

    1. บรรทุกอุปกรณ์ขึ้นรถพ่วงหรือรถบรรทุก (แนะนำให้หัวเดือยอยู่ด้านหน้า)

    2. เข้าเบรกจอด ดับเครื่องยนต์ และดึงกุญแจออก

    3. ใช้สลักซ่อมบำรุงยึดหัวเดือยเอาไว้ โปรดดู การหนุนหัวเดือยด้วยสลักซ่อมบำรุง

    4. ปิดวาล์วจัดการจ่ายเชื้อเพลิง โปรดดู วาล์วตัดการจ่ายเชื้อเพลิง.

    5. ผูกอุปกรณ์เข้ากับรถพ่วงหรือรถบรรทุกด้วยสายเคเบิล สายโซ่ หรือสายผูกยึด โดยใช้จุดผูกยึดบนอุปกรณ์

    คำแนะนำเกี่ยวกับรถพ่วง

    น้ำหนัก721 กก. (1,590 ปอนด์) หรือ 805 กก. (1,775 ปอนด์) โดยมีน้ำหนัก 2 ระดับให้เลือก
    ความกว้างขั้นต่ำ 130 ซม. (51 นิ้ว)
    ความยาวขั้นต่ำ 267 ซม. (105 นิ้ว)
    มุมทางลาดความชันไม่เกิน 3.5/12 (16°)
    ทิศทางการบรรทุกหัวเดือยอยู่ด้านหน้า (แนะนำ)
    น้ำหนักลากจูงของยานพาหนะมากกว่าน้ำหนักรวมสูงสุดของรถพ่วง (GTW)

    Important: ห้ามใช้รถพ่วง/รถลากไฮโดรเจ็กต์ลากพ่วงอุปกรณ์นี้

    การบำรุงรักษา

    Note: ดูด้านซ้ายและขวาของอุปกรณ์จากตำแหน่งปกติในการควบคุมอุปกรณ์

    ความปลอดภัยในการบำรุงรักษา

    ข้อควรระวัง

    หากคุณเสียบกุญแจทิ้งไว้ อาจมีคนสตาร์ทเครื่องยนต์โดยไม่ตั้งใจและทำให้คุณหรือคนที่อยู่รอบข้างบาดเจ็บได้

    เข้าเบรกจอด ดับเครื่องยนต์ ดึงกุญแจออก และยึดหัวเดือยด้วยสลักซ่อมบำรุงก่อนจะซ่อมบำรุงหรือปรับอุปกรณ์

    • ดับเครื่องยนต์ ดึงกุญแจออก (ถ้าเสียบกุญแจอยู่) รอให้ชิ้นส่วนเคลื่อนไหวทั้งหมดหยุดนิ่ง และรอให้เครื่องยนต์เย็นลงก่อนปรับ ซ่อมบำรุง ทำความสะอาด หรือจัดเก็บอุปกรณ์

    • ทำตามคำแนะนำการบำรุงรักษาที่อธิบายไว้ในคู่มือฉบับนี้เท่านั้น หากต้องซ่อมบำรุงครั้งใหญ่หรือต้องการความช่วยเหลือ โปรดติดต่อตัวแทนจำหน่ายของ Toro ที่ได้รับอนุญาต

    • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าอุปกรณ์มีสภาพการทำงานที่ปลอดภัย โดยการขันน็อต สลักเกลียว และสกรูให้แน่นหนา

    • หากเป็นไปได้ อย่าบำรุงรักษาในขณะที่เครื่องยนต์กำลังทำงาน อยู่ห่างจากชิ้นส่วนเคลื่อนไหว

    • ค่อยๆ ปล่อยแรงดันจากส่วนประกอบที่มีพลังงานสะสมเก็บไว้

    • ตรวจสอบสลักเกลียวยึดเดือยเจาะเป็นประจำทุกวัน เพื่อให้แน่ใจว่าขันแน่นตามข้อกำหนดแล้ว

    • ติดตั้งแผงกั้นทั้งหมดให้เข้าที่ และปิดกระโปรงอุปกรณ์ให้แน่นหนาหลังจากบำรุงรักษาหรือปรับอุปกรณ์แล้ว

    กำหนดการบำรุงรักษาที่แนะนำ

    ระยะการซ่อมบำรุงขั้นตอนการบำรุงรักษา
    หลังจาก 8 ชั่วโมงแรก
  • ปรับสายพานปั๊ม
  • เปลี่ยนน้ำมันไฮดรอลิก รวมทั้งตัวกรองขากลับและขาดูด
  • ตรวจสอบแรงบิดของตัวยึดหัวเดือย ตัวยึดด้ามจับคันไถ และน็อตล็อคของล้อ
  • หลังจาก 50 ชั่วโมงแรก
  • เปลี่ยนน้ำมันเครื่องและตัวกรองน้ำมันเครื่อง
  • ก่อนการใช้งานแต่ละครั้งหรือทุกวัน
  • ทดสอบระบบอินเตอร์ล็อคนิรภัย
  • ทำความสะอาดอุปกรณ์
  • ตรวจสอบระดับน้ำมันเครื่อง(ตรวจสอบน้ำมันในขณะที่เครื่องยนต์เย็น)
  • เก็บกวาดเศษวัสดุออกจากแผงตะแกรงเครื่องยนต์(ทำความสะอาดบ่อยขึ้นหากใช้งานในสภาพการทำงานที่สกปรก)
  • ตรวจสอบท่อไฮดรอลิก
  • ตรวจสอบระดับน้ำมันไฮดรอลิก
  • ทุก 25 ชั่วโมง
  • ทำความสะอาดไส้กรองอากาศโฟมและตรวจสอบไส้กรองกระดาษเพื่อดูความเสียหาย(เปลี่ยนให้บ่อยขึ้นหากใช้งานในที่ที่มีฝุ่นหรือทรายมาก)
  • ทุก 50 ชั่วโมง
  • ตรวจสอบแรงดันลมยาง
  • ทุก 100 ชั่วโมง
  • เปลี่ยนไส้กรองอากาศกระดาษ(เปลี่ยนให้บ่อยขึ้นหากใช้งานในที่ที่มีฝุ่นหรือทรายมาก)
  • เปลี่ยนน้ำมันเครื่องและตัวกรองน้ำมันเครื่องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องและตัวกรองให้บ่อยขึ้น หากใช้งานอุปกรณ์ในสภาวะที่มีฝุ่นหรือทรายมาก
  • เปลี่ยนตัวกรองเชื้อเพลิง
  • ทุก 200 ชั่วโมง
  • ตรวจสอบหัวเทียน
  • เปลี่ยนน้ำมันไฮดรอลิก รวมทั้งตัวกรองขากลับและขาดูด
  • ทุก 250 ชั่วโมง
  • ตรวจสอบแรงบิดของตัวยึดหัวเดือย ตัวยึดด้ามจับคันไถ และน็อตล็อคของล้อ
  • ทุก 500 ชั่วโมง
  • ตรวจสภาพของแบริ่งหัวเดือยและเปลี่ยนใหม่ ถ้าจำเป็น
  • ก่อนจัดเก็บ
  • โปรดอ่านหัวข้อการจัดเก็บอุปกรณ์ เพื่อดูขั้นตอนที่จำเป็นก่อนจัดเก็บอุปกรณ์ไว้นานกว่า 30 วัน
  • ทุกปี
  • ตรวจสภาพของแบริ่งหัวเดือยและเปลี่ยนใหม่ ถ้าจำเป็น
  • ตรวจสอบการเชื่อมต่อสายไฟแบตเตอรี่
  • ตรวจสภาพสายพานเพื่อดูการสึกหรอและความเสียหาย
  • Important: ดูขั้นตอนการบำรุงรักษาเพิ่มเติมได้จากคู่มือสำหรับเจ้าของเครื่องยนต์

    รายการตรวจสอบสำหรับการบำรุงรักษารายวัน

    ถ่ายสำเนาหน้านี้ไว้เพื่อนำไปใช้งานเป็นประจำ

    รายการตรวจสอบสำหรับการบำรุงรักษาสำหรับสัปดาห์:
    จ.อ.พ.พฤ.ศ.ส.อา.
    ตรวจสอบการทำงานของสวิตช์อินเตอร์ล็อคนิรภัย       
    ตรวจสอบการทำงานของเบรก       
    ตรวจสอบระดับน้ำมันเครื่อง       
    ตรวจสอบระดับน้ำมัน       
    ตรวจสอบระบบกรองอากาศ       
    ตรวจสอบเศษสิ่งต่างๆ บนเครื่องยนต์       
    ตรวจสอบเสียงเครื่องยนต์ที่ผิดปกติ       
    ตรวจสอบเสียงการทำงานที่ผิดปกติ       
    ตรวจสอบระดับน้ำมันไฮดรอลิก       
    ตรวจสอบท่ออ่อนไฮดรอลิกเพื่อดูความเสียหาย       
    ตรวจสอบน้ำยารั่วไหล       
    ตรวจสอบการทำงานของแผงหน้าปัด       
    ตรวจสอบสภาพเดือยเจาะ       
    ทำสีที่ชำรุด       

    บันทึกจุดที่ต้องระวัง

    ตรวจสอบโดย:
    รายการวันที่ข้อมูล
    1  
    2  
    3  
    4  
    5  
    6  
    7  
    8  

    Important: ดูขั้นตอนการบำรุงรักษาเพิ่มเติมได้จากคู่มือสำหรับเจ้าของเครื่องยนต์

    ข้อควรระวัง

    หากคุณเสียบกุญแจทิ้งไว้ อาจมีคนสตาร์ทเครื่องยนต์โดยไม่ตั้งใจและทำให้คุณหรือคนที่อยู่รอบข้างบาดเจ็บได้

    ดึงกุญแจออกจากสวิตช์สตาร์ทและถอดสายไฟออกจากหัวเทียนก่อนทำการบำรุงรักษา วางสายไฟพักไว้เพื่อไม่ให้แตะกับหัวเทียนโดยไม่ได้ตั้งใจ

    ขั้นตอนก่อนการบำรุงรักษา

    Important: ตัวยึดบนฝาครอบอุปกรณ์รุ่นนี้ออกแบบมาให้ยังอยู่บนฝาครอบหลังจากถอดออก คลายตัวยึดทั้งหมดบนฝาครอบแต่ละอันสองสามรอบ เพื่อคลายฝาครอบออก แต่ยังคงยึดอยู่ จากนั้นกลับไปคลายตัวยึดต่อจนฝาครอบหลุดออก วิธีนี้ป้องกันไม่ให้คุณดึงสลักเกลียวออกมาจากที่ยึดโดยไม่ได้ตั้งใจ

    การยกอุปกรณ์

    ข้อควรระวัง

    หากไม่ได้ขัดอุปกรณ์ไว้อย่างเหมาะสมโดยใช้บล็อคหรือแม่แรง อุปกรณ์อาจจะขยับหรือตกลงมา และเป็นสาเหตุให้บาดเจ็บได้

    • เมื่อต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ต่อพ่วง ล้อ หรือทำงานซ่อมบำรุงอื่นๆ ให้ใช้บล็อค เครื่องยก และแม่แรงที่ถูกต้อง

    • จอดอุปกรณ์บนพื้นราบที่มั่นคงแข็งแรง เช่น พื้นคอนกรีต

    • ก่อนยกอุปกรณ์ ให้ถอดอุปกรณ์ต่อพ่วงที่อาจทำให้ไม่ปลอดภัยออก และยกอุปกรณ์ขึ้นอย่างถูกต้อง

    • ขัดหรือบล็อคล้อไว้เสมอ ใช้ขาตั้งแม่แรงหรือบล็อคไม้มาพยุงรับน้ำหนักของอุปกรณ์ที่ถูกยก

    การยกด้านหน้าของอุปกรณ์

    1. จอดอุปกรณ์บนพื้นราบ ดับเครื่องยนต์ ดึงเบรกมือ และดึงกุญแจออก

    2. ขัดล้อหลังเอาไว้เพื่อป้องกันไม่ให้อุปกรณ์ขยับ

      Important: ห้ามใช้มอเตอร์ล้อหน้าเป็นจุดขึ้นแม่แรง เพราะอาจทำให้มอเตอร์ล้อเสียหายได้

    3. วางแม่แรงไว้ใต้ส่วนหน้าของโครงอุปกรณ์อย่างปลอดภัย (รูป 37)

      g010055
    4. ยกด้านหน้าอุปกรณ์ขึ้นจากพื้น

    5. วางขาตั้งแม่แรงหรือบล็อคไม้แข็งไว้ใต้ส่วนหน้าของโครงอุปกรณ์เพื่อพยุงน้ำหนักของอุปกรณ์

    การยกด้านท้ายของอุปกรณ์

    1. จอดอุปกรณ์บนพื้นราบ ดับเครื่องยนต์ ดึงเบรกมือ และดึงกุญแจออก

    2. ขัดล้อหน้าเอาไว้เพื่อป้องกันไม่ให้อุปกรณ์ขยับ

      Important: ห้ามใช้มอเตอร์ล้อหลังเป็นจุดขึ้นแม่แรง เพราะอาจทำให้มอเตอร์ล้อเสียหายได้

    3. วางแม่แรงให้มั่นคงใต้แผ่นโครงภายในล้อหลัง (รูป 38)

      g010056

      Note: ยกด้านท้ายของอุปกรณ์โดยใช้ตัวยก ถ้ามี ใช้ห่วงที่อยู่บนตัวเรือนแบริ่งหัวเดือยเป็นจุดต่อพ่วงตัวยก (รูป 39)

      g010057
    4. ยกด้านท้ายอุปกรณ์ขึ้นจากพื้น

    5. วางขาตั้งแม่แรงหรือบล็อคไม้แข็งไว้ใต้โครงอุปกรณ์เพื่อพยุงน้ำหนักของอุปกรณ์

    การหล่อลื่น

    การตรวจสอบแบริ่งหัวเดือย

    ระยะการซ่อมบำรุงขั้นตอนการบำรุงรักษา
    ทุก 500 ชั่วโมง
  • ตรวจสภาพของแบริ่งหัวเดือยและเปลี่ยนใหม่ ถ้าจำเป็น
  • ทุกปี
  • ตรวจสภาพของแบริ่งหัวเดือยและเปลี่ยนใหม่ ถ้าจำเป็น
  • อุปกรณ์ไม่มีจุดอัดจาระบี

    Important: แบริ่งเสียส่วนใหญ่ไม่ใช่เพราะความบกพร่องของวัสดุหรือการผลิต แต่สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือความชื้นและการปนเปื้อนที่ซึมผ่านซีลป้องกันเข้ามา แบริ่งที่ต้องหล่อลื่นด้วยจาระบีต้องบำรุงรักษาเป็นประจำเพื่อกำจัดเศษวัสดุที่เป็นอันตรายออกจากบริเวณแบริ่ง ส่วนแบริ่งแบบซีลจะอัดจาระบีชนิดพิเศษมาเรียบร้อยแล้ว อีกทั้งซีลในตัวยังมีความแข็งแรงทนทานและช่วยป้องกันไม่ให้สิ่งปนเปื้อนและความชื้นเล็ดลอดเข้าไปในส่วนลูกกลิ้งได้

    แบริ่งแบบซีลไม่จำเป็นต้องอัดจาระบีหรือบำรุงรักษาในระยะสั้น จึงช่วยลดภาระในการซ่อมบำรุงที่ต้องทำเป็นประจำ รวมทั้งลดโอกาสที่จะสนามเสียหายจากการปนเปื้อนจาระบีด้วย ชุดแบริ่งแบบซีลเหล่านี้มีประสิทธิภาพและอายุการใช้งานเป็นเลิศในสภาพการใช้งานตามปกติ อย่างไรก็ตาม ควรตรวจสภาพของแบริ่งและความสมบูรณ์ของซีลเป็นระยะๆ เพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้คุณใช้อุปกรณ์ไม่ได้ โดยควรตรวจสภาพของแบริ่งทุกฤดูกาลและเปลี่ยนใหม่ หากพบว่าเสียหายหรือสึกหรอ แบริ่งควรทำงานได้อย่างราบรื่นโดยไม่เกิดลักษณะบ่งชี้ความเสียหาย เช่น ความร้อนสูง เสียงรบกวน หลวม หรือมีสนิม

    เนื่องจากสภาพแวดล้อมการทำงานแบบต่างๆ ที่มีการนำแบริ่งไปใช้งาน (เช่น ทราย สารเคมีในสนาม น้ำ แรงกระแทก) ทำให้แบริ่งถือเป็นชิ้นส่วนที่เกิดการสึกหรอได้ตามปกติ ดังนั้น ปกติแล้วแบริ่งที่ไม่สามารถใช้งานได้ด้วยสาเหตุอื่นใดนอกเหนือจากความบกพร่องด้านวัสดุและฝีมือการผลิต จะไม่ได้รับความคุ้มครองภายใต้การรับประกัน

    Note: หากคุณไม่ล้างอุปกรณ์อย่างถูกต้อง อาจจะส่งผลเสียต่อแบริ่งได้ ดังนั้น ห้ามล้างอุปกรณ์ขณะที่ยังร้อน และหลีกเลี่ยงการฉีดพ่นด้วยแรงดันสูงหรือปริมาณมากที่แบริ่ง

    แบริ่งใหม่มักจะขับจาระบีบางส่วนออกมาจากซีลและติดอยู่บนอุปกรณ์ใหม่ จาระบีดังกล่าวจะเปลี่ยนเป็นสีดำเนื่องจากเศษสิ่งสกปรกต่างๆ ไม่ใช่เพราะความร้อนสูงเกินไป ให้เช็ดจาระบีส่วนเกินออกจากซีลหลังจากใช้งาน 8 ชั่วโมงแรก บริเวณรอบๆ ขอบซีลอาจจะดูเหมือนเปียกอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่ได้ส่งผลเสียต่ออายุการใช้งานของแบริ่ง และช่วยให้ขอบซีลหล่อลื่น

    การบำรุงรักษาเครื่องยนต์

    ความปลอดภัยของเครื่องยนต์

    • ดับเครื่องยนต์ก่อนตรวจสอบระดับน้ำมันหรือเติมน้ำมันลงในห้องข้อเหวี่ยง

    • อย่าเปลี่ยนความเร็วของตัวควบคุมความเร็วหรือเร่งรอบเครื่องมากเกินไป

    การซ่อมบำรุงระบบกรองอากาศ

    ระยะการซ่อมบำรุงขั้นตอนการบำรุงรักษา
    ทุก 25 ชั่วโมง
  • ทำความสะอาดไส้กรองอากาศโฟมและตรวจสอบไส้กรองกระดาษเพื่อดูความเสียหาย(เปลี่ยนให้บ่อยขึ้นหากใช้งานในที่ที่มีฝุ่นหรือทรายมาก)
  • ทุก 100 ชั่วโมง
  • เปลี่ยนไส้กรองอากาศกระดาษ(เปลี่ยนให้บ่อยขึ้นหากใช้งานในที่ที่มีฝุ่นหรือทรายมาก)
  • การถอดไส้กรอง

    1. จอดอุปกรณ์บนพื้นราบ ดับเครื่องยนต์ ดึงเบรกมือ และดึงกุญแจออก

    2. ทำความสะอาดรอบๆ ระบบกรองอากาศเพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นตกลงไปในเครื่องยนต์และอาจก่อให้เกิดความเสียหาย

    3. ถอดสกรูและถอดฝาครอบกรองอากาศออก (รูป 40)

      g004195
    4. ค่อยๆ เลื่อนไส้กรองโฟมขั้นต้นออกจากไส้กรองกระดาษอย่างระมัดระวัง (รูป 40)

    5. ถอดน็อตฝาครอบ จากนั้นถอดฝาครอบ ตัวคั่น และไส้กรองกระดาษออกมา (รูป 40)

    การทำความสะอาดไส้กรองโฟมขั้นต้น

    Important: เปลี่ยนไส้กรองโฟมที่ฉีกขาดหรือสึกหรอ

    1. ล้างไส้กรองโฟมขั้นต้นด้วยสบู่เหลวและน้ำอุ่น ตอนทำความสะอาด ควรล้างให้หมดจด

    2. นำผ้าสะอาดมาห่อไส้กรองขั้นต้นและบีบน้ำออก (แต่อย่าบิด)

    3. เทน้ำมัน 3 ถึง 6 ซล. (1 ถึง 2 ออนซ์) ลงบนไส้กรองขั้นต้น (รูป 41)

      g004196
    4. บีบไส้กรองขั้นต้นเพื่อให้น้ำมันกระจายทั่ว

    5. ตรวจสอบหารอยฉีกขาด ฟิล์มมันวาว หรือความเสียหายที่ซีลยางของไส้กรองกระดาษ (รูป 42)

      g004197

      Important: ห้ามทำความสะอาดไส้กรองกระดาษเด็ดขาด เปลี่ยนไส้กรองกระดาษที่สกปรกหรือเสียหาย

    การติดตั้งไส้กรอง

    Important: เพื่อป้องกันเครื่องยนต์เสียหาย ควรใช้งานเครื่องยนต์ที่ชุดกรองอากาศติดตั้งทั้งไส้กรองโฟมและกระดาษไว้อย่างสมบูรณ์

    1. ค่อยๆ เลื่อนไส้กรองโฟมขั้นต้นลงไปบนไส้กรองกระดาษอย่างระมัดระวัง (รูป 42)

    2. วางชุดกรองอากาศลงบนฐานชุดกรองอากาศ (รูป 40)

    3. ใส่ฝาครอบ ตัวคั่น และยึดด้วยน็อตฝาครอบ (รูป 40) ขันน็อตจนได้แรงบิด 11 นิวตันเมตร (95 นิ้วปอนด์)

    4. ใส่ฝาครอบชุดกรองอากาศและยึดด้วยน็อต (รูป 40)

    ข้อมูลจำเพาะของน้ำมันเครื่อง

    ประเภทน้ำมัน: น้ำมันชะล้างคุณภาพสูง (มาตรฐาน API Service SJ ขึ้นไป)

    ความหนืด: ดูตารางด้านล่าง

    g010152

    การตรวจสอบระดับน้ำมันเครื่อง

    ระยะการซ่อมบำรุงขั้นตอนการบำรุงรักษา
    ก่อนการใช้งานแต่ละครั้งหรือทุกวัน
  • ตรวจสอบระดับน้ำมันเครื่อง(ตรวจสอบน้ำมันในขณะที่เครื่องยนต์เย็น)
  • เครื่องยนต์เติมน้ำมันในห้องข้อเหวี่ยงมาให้แล้วจากโรงงาน แต่ควรตรวจสอบระดับน้ำมันก่อนและหลังสตาร์ทเครื่องยนต์ครั้งแรก

    ใช้น้ำมันเครื่องคุณภาพสูงตามรายละเอียดใน ข้อมูลจำเพาะของน้ำมันเครื่อง

    Important: อย่าเติมน้ำมันลงในห้องข้อเหวี่ยงจนล้น เพราะอาจทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้อย่าให้เครื่องยนต์ทำงาน หากระดับน้ำมันอยู่ต่ำกว่าขีดต่ำ เพราะเครื่องยนต์อาจเสียหายได้

    Note: เวลาที่เหมาะที่สุดในการตรวจสอบน้ำมันเครื่องคือเมื่อเครื่องยนต์เย็น ก่อนที่จะสตาร์ทอุปกรณ์เป็นครั้งแรกของวัน หากเครื่องยนต์ทำงานไปแล้ว รอให้น้ำมันเครื่องไหลกลับเข้าไปสู่อ่างน้ำมันเครื่องอย่างน้อย 10 นาทีก่อนที่จะตรวจสอบ

    1. จอดอุปกรณ์บนพื้นราบ ดับเครื่องยนต์ ดึงเบรกมือ และดึงกุญแจออก

    2. เช็ดรอบๆ ก้านวัดระดับน้ำมัน (รูป 44) เพื่อไม่ให้ฝุ่นร่วงลงไปในช่องเติมและทำให้เครื่องยนต์เสียหาย

      g002359
    3. ดึงก้านวัดออก เช็ดให้สะอาด และใส่ก้านวัดกลับเข้าไปจนสุด (รูป 44)

    4. ดึงก้านวัดออกและตรวจสอบระดับน้ำมันเครื่อง

      ระดับน้ำมันควรอยู่ระหว่างขีดเต็ม "F" กับขีดล่าง "L" บนก้านวัด (รูป 44)

    5. หากระดับน้ำมันอยู่ต่ำกว่าขีดล่าง "L" ให้เปิดฝาท่อเติม และเติมน้ำมันที่กำหนดจนกว่าน้ำมันจะถึงขีดเต็ม "F" บนก้านวัด (รูป 44)

    6. ปิดฝาเติมน้ำมันและก้านวัดกลับเข้าที่

    การเปลี่ยนน้ำมันเครื่องและตัวกรองน้ำมันเครื่อง

    ระยะการซ่อมบำรุงขั้นตอนการบำรุงรักษา
    หลังจาก 50 ชั่วโมงแรก
  • เปลี่ยนน้ำมันเครื่องและตัวกรองน้ำมันเครื่อง
  • ทุก 100 ชั่วโมง
  • เปลี่ยนน้ำมันเครื่องและตัวกรองน้ำมันเครื่องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องและตัวกรองให้บ่อยขึ้น หากใช้งานอุปกรณ์ในสภาวะที่มีฝุ่นหรือทรายมาก
  • ความจุห้องข้อเหวี่ยง: ประมาณ 1.9 ลิตร (2.0 ควอร์ต) พร้อมตัวกรอง

    1. สตาร์ทเครื่องยนต์และปล่อยให้เครื่องยนต์ทำงาน 5 นาที เพื่อให้น้ำมันอุ่นและระบายได้ดีขึ้น

    2. จอดอุปกรณ์ให้ฝั่งที่ต้องการระบายน้ำมันอยู่ต่ำกว่าอีกฝั่งหนึ่งเล็กน้อยเพื่อให้น้ำมันระบายออกมาจนหมด จากนั้นดับเครื่องยนต์ ดึงเบรกมือ และดึงกุญแจออก

    3. วางอ่างไว้ใต้ช่องระบายน้ำมัน เปิดจุกระบายน้ำมันเพื่อให้น้ำมันระบายออกมา

    4. เมื่อน้ำมันระบายออกจนหมดแล้ว ให้ใส่จุกกลับเข้าไป

      Note: ทิ้งน้ำมันใช้แล้วที่ศูนย์รีไซเคิลที่มีการรับรอง

    5. วางอ่างตื้นๆ หรือผ้าขี้ริ้วไว้ในตัวกรองเพื่อรับน้ำมัน (รูป 45)

      g010058
      g001056
    6. ถอดตัวกรองเก่าออก (รูป 45 และ รูป 46) และเช็ดพื้นผิวของปะเก็นอะแดปเตอร์ตัวกรอง

    7. เทน้ำมันใหม่ชนิดที่เหมาะสมผ่านช่องตรงกลางของตัวกรอง และหยุดเทเมื่อน้ำมันขึ้นมาถึงด้านล่างของเกลียว

    8. รอ 1 หรือ 2 นาทีให้วัสดุตัวกรองซึมซับน้ำมัน จากนั้นเทน้ำมันที่เหลือออก

    9. ทาน้ำมันใหม่เป็นชั้นบางๆ ที่ปะเก็นยางบนตัวกรองที่จะเปลี่ยน

    10. ติดตั้งตัวกรองน้ำมันที่จะเปลี่ยนเข้าไปในอะแดปเตอร์ตัวกรอง หมุนตัวกรองน้ำมันตามเข็มนาฬิกาจนกว่าปะเก็นยางจะสัมผัสกับอะแดปเตอร์ตัวกรอง จากนั้นขันตัวกรองเพิ่มอีก 1/2 รอบ

    11. ถอดฝาเติมน้ำมันออก และค่อยๆ เทน้ำมัน 80% ของปริมาณน้ำมันที่กำหนดผ่านฝาครอบวาล์ว

    12. ตรวจสอบระดับน้ำมัน โปรดดู การตรวจสอบระดับน้ำมันเครื่อง

    13. ค่อยๆ เติมน้ำมันเพิ่มเพื่อให้ถึงขีด F (เต็ม) บนก้านวัด

    14. ปิดฝาเติมน้ำมันและก้านวัดกลับเข้าที่

    การซ่อมบำรุงหัวเทียน

    ระยะการซ่อมบำรุงขั้นตอนการบำรุงรักษา
    ทุก 200 ชั่วโมง
  • ตรวจสอบหัวเทียน
  • ตรวจสอบว่าระยะห่างเขี้ยวระหว่างตรงกลางกับเขี้ยวหัวเทียนถูกต้องก่อนจะติดตั้งหัวเทียนแต่ละตัว ใช้ประแจหัวเทียนในการถอดและติดตั้งหัวเทียน และเครื่องมือวัดช่องว่าง/ฟีลเลอร์เกจเพื่อตรวจสอบและปรับระยะห่างเขี้ยว ติดตั้งหัวเทียนอันใหม่ ถ้าจำเป็น

    ประเภท: Champion RC12YC หรือเทียบเท่า ระยะห่างเขี้ยว: 0.75 มม. (0.03 นิ้ว)

    การถอดหัวเทียน

    1. ดับเครื่องยนต์ ดึงเบรกมือ และดึงกุญแจออก

    2. ดึงสายไฟออกจากหัวเทียน (รูป 47)

      g004207
    3. ทำความสะอาดรอบๆ หัวเทียน

    4. ถอดทั้งหัวเทียนและปะเก็นโลหะออก

    การตรวจสอบหัวเทียน

    1. ดูที่ตรงกลางของหัวเทียนทั้งสองตัว (รูป 48) หากคุณเห็นจุดสีน้ำตาลหรือสีเทาบนฉนวน แสดงว่าเครื่องยนต์ทำงานถูกต้อง คราบสีดำบนฉนวนมักแสดงว่าระบบกรองอากาศสกปรก

      Important: ห้ามทำความสะอาดหัวเทียน เปลี่ยนหัวเทียนเสมอเมื่อเห็นคราบสีดำ เขี้ยวหัวเทียนสึกหรอ และฟิล์มน้ำมัน หรือรอยแตก

      g004219
    2. ตรวจสอบช่องว่างระหว่างตรงกลางกับเขี้ยวหัวเทียน (รูป 48)

    3. งอเขี้ยวหัวเทียน (รูป 48) หากช่องว่างไม่ถูกต้อง

    การติดตั้งหัวเทียน

    1. หมุนหัวเทียนเข้าในรูหัวเทียน

    2. ขันหัวเทียนจนได้แรงบิด 27 นิวตันเมตร (20 ฟุตปอนด์)

    3. ดันสายไฟเข้าไปบนหัวเทียน (รูป 47)

    การทำความสะอาดแผงตะแกรงเครื่องยนต์

    ระยะการซ่อมบำรุงขั้นตอนการบำรุงรักษา
    ก่อนการใช้งานแต่ละครั้งหรือทุกวัน
  • เก็บกวาดเศษวัสดุออกจากแผงตะแกรงเครื่องยนต์(ทำความสะอาดบ่อยขึ้นหากใช้งานในสภาพการทำงานที่สกปรก)
  • ตรวจสอบและทำความสะอาดแผงตะแกรงเครื่องยนต์ก่อนใช้งานแต่ละครั้ง นำเศษหญ้า ฝุ่นละออง หรือเศษสิ่งสกปรกอื่นๆ ออกจากตะแกรงระบบอากาศเข้าของเครื่องยนต์

    การบำรุงรักษาระบบเชื้อเพลิง

    อันตราย

    น้ำมันเชื้อเพลิงและไอน้ำมันจะติดไฟง่ายและเกิดการระเบิดได้ง่ายในบางสภาวะ เพลิงไหม้และการระเบิดที่เกิดจากเชื้อเพลิงอาจทำให้คุณและผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ รวมถึงทำให้ทรัพย์สินเสียหายได้

    • เติมเชื้อเพลิงนอกอาคารในพื้นที่โล่งขณะที่เครื่องยนต์ยังเย็นอยู่และไม่ได้ติดเครื่องอยู่ เช็ดน้ำมันที่หกออกมา

    • อย่าเติมน้ำมันมากเกินไป เติมน้ำมันลงในถังจนกระทั่งระดับน้ำมันอยู่ต่ำกว่าด้านบนของถัง (ไม่ใช่ช่องเติมเชื้อเพลิง) 25 มม. (1 นิ้ว) พื้นที่ว่างในถังนี้เผื่อไว้ให้น้ำมันเชื้อเพลิงขยายตัว

    • อย่าสูบบุหรี่ขณะจัดการเชื้อเพลิง และอยู่ให้ห่างจากเปลวไฟหรือบริเวณที่ประกายไฟอาจทำให้ไอเชื้อเพลิงติดไฟได้

    • จัดเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงในภาชนะสะอาดที่ผ่านการรับรองด้านความปลอดภัย และปิดฝาเข้าที่

    การเปลี่ยนตัวกรองเชื้อเพลิง

    ระยะการซ่อมบำรุงขั้นตอนการบำรุงรักษา
    ทุก 100 ชั่วโมง
  • เปลี่ยนตัวกรองเชื้อเพลิง
  • Important: อย่าติดตั้งตัวกรองที่สกปรกหลังจากถอดออกจากท่อเชื้อเพลิง

    1. ปล่อยให้เครื่องยนต์เย็นลง

    2. ปิดวาล์วจัดการจ่ายเชื้อเพลิง (รูป 49)

      g010059
    3. บีบปลายทั้งสองด้านของข้อรัดท่ออ่อนเข้าด้วยกันและเลื่อนออกห่างจากตัวกรอง (รูป 49)

    4. ถอดตัวกรองออกจากท่อเชื้อเพลิง

    5. ติดตั้งตัวกรองอันใหม่และเลื่อนข้อรัดท่ออ่อนเข้าไปใกล้ตัวกรอง (รูป 49)

    6. เช็ดน้ำมันที่หก

    7. เปิดวาล์วจัดการจ่ายเชื้อเพลิง (รูป 49)

    การระบายถังเชื้อเพลิง

    อันตราย

    ในบางสภาวะ น้ำมันเชื้อเพลิงอาจติดไฟและเกิดการระเบิดได้ง่ายมาก เพลิงไหม้และการระเบิดที่เกิดจากเชื้อเพลิงอาจทำให้คุณและผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ รวมถึงทำให้ทรัพย์สินเสียหายได้

    • ระบายน้ำมันออกจากถังน้ำมันขณะที่เครื่องยนต์เย็น ขั้นตอนนี้ต้องทำกลางแจ้งในพื้นที่โล่ง เช็ดน้ำมันที่หกออกมา

    • อย่าสูบบุหรี่ขณะระบายน้ำมันเชื้อเพลิง และอยู่ให้ห่างจากเปลวไฟหรือบริเวณที่ประกายไฟอาจทำให้ไอเชื้อเพลิงติดไฟได้

    1. จอดอุปกรณ์บนพื้นราบ ดับเครื่องยนต์ ดึงเบรกมือ และดึงกุญแจออก

    2. ปิดวาล์วจัดการจ่ายเชื้อเพลิง (รูป 49)

    3. คลายข้อรัดท่ออ่อนที่ตัวกรองเชื้อเพลิง จากนั้นเลื่อนขึ้นไปตามท่อเชื้อเพลิงให้ออกห่างจากตัวกรองเชื้อเพลิง (รูป 49)

    4. ถอดท่อเชื้อเพลิงออกจากตัวกรองเชื้อเพลิง (รูป 49) เปิดวาล์วจัดการจ่ายเชื้อเพลิง และระบายเชื้อเพลิงลงถังหรืออ่างระบาย

      Note: ตอนนี้เป็นเวลาที่เหมาะกับการติดตั้งตัวกรองเชื้อเพลิงอันใหม่ที่สุดเพราะถังน้ำมันว่างเปล่า

    5. ติดตั้งท่อเชื้อเพลิงไปบนตัวกรองเชื้อเพลิง เลื่อนข้อรัดท่ออ่อนไปยังตัวกรองเชื้อเพลิงเพื่อยึดท่อเชื้อเพลิงไว้ (รูป 49)

    การบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า

    ความปลอดภัยของระบบไฟฟ้า

    • ตัดการเชื่อมต่อแบตเตอรี่ก่อนซ่อมบำรุงอุปกรณ์ ถอดขั้วลบออกก่อน ตามด้วยขั้วบวก ต่อขั้วบวกก่อน ตามด้วยขั้วลบ

    • ชาร์จแบตเตอรี่ในพื้นที่เปิดโล่งที่ระบายอากาศได้ดี ห่างจากประกายไฟและเปลวไฟ ถอดปลั๊กเครื่องชาร์จก่อนต่อหรือตัดการเชื่อมต่อแบตเตอรี่

    • สวมใส่ชุดป้องกันและใช้เครื่องมือมีฉนวน

    คำเตือน

    เสาแบตเตอรี่ ขั้ว และอุปกรณ์เสริมที่เกี่ยวข้องมีตะกั่วและสารประกอบตะกั่วเป็นส่วนผสม ซึ่งเป็นสารเคมีที่รัฐแคลิฟอร์เนียทราบว่าเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งและเป็นอันตรายต่อระบบสืบพันธุ์ ดังนั้น ควรล้างมือหลังจากสัมผัส

    การชาร์จแบตเตอรี่

    คำเตือน

    ขั้นตอนการชาร์จแบตเตอรี่ทำให้เกิดก๊าซที่อาจระเบิดได้

    ห้ามสูบบุหรี่ใกล้แบตเตอรี่และ อย่านำประกายไฟและเปลวไฟเข้าใกล้แบตเตอรี่โดยเด็ดขาด

    คำเตือน

    ขั้วแบตเตอรี่หรือเครื่องมือโลหะอาจลัดวงจรกับส่วนประกอบโลหะของรถลากพ่วงหรืออุปกรณ์ ทำให้เกิดประกายไฟได้ ประกายไฟอาจทำให้แบตเตอรี่ปล่อยก๊าซที่ทำให้ระเบิด ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บขึ้นได้

    • เมื่อถอดหรือติดตั้งแบตเตอรี่ อย่าให้ขั้วแบตเตอรี่สัมผัสกับส่วนโลหะของอุปกรณ์

    • อย่าให้เครื่องมือโลหะลัดวงจรระหว่างขั้วแบตเตอรี่กับส่วนโลหะใดๆ

    คำเตือน

    การเดินสายไฟแบตเตอรี่ไม่ถูกต้องอาจทำให้อุปกรณ์และสายไฟเสียหาย โดยทำให้เกิดประกายไฟ ประกายไฟอาจทำให้แบตเตอรี่ปล่อยก๊าซที่ทำให้ระเบิด ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บขึ้นได้

    • ถอดสายไฟแบตเตอรี่ขั้วลบ (สีดำ) ก่อนถอดสายไฟแบตเตอรี่ขั้วบวก (สีแดง) เสมอ

    • ต่อสายไฟแบตเตอรี่ขั้วบวก (สีแดง) ก่อนต่อสายไฟขั้วลบ (สีดำ) เสมอ

    1. ปลดสลักและเปิดฝาครอบช่องวางแบตเตอรี่

    2. ยกแบตเตอรี่ออกจากช่องวางแบตเตอรี่

      1. ถอดส่วนกดยึดแบตเตอรี่และก้านกดยึดแบตเตอรี่มาวางลงในถาด (รูป 50)

      2. ถอดสลักเกลียวและน็อตที่ยึดสายไฟแบตเตอรี่ขั้วลบ (สีดำ) เข้ากับขั้วลบ (–) ออก และถอดสายไฟขั้วลบออก

      3. ถอดสลักเกลียวและน็อตที่ยึดสายไฟแบตเตอรี่ขั้วบวก (สีแดง) เข้ากับแบตเตอรี่ขั้วบวก (+) ออก และถอดสายไฟขั้วบวกออก

    3. ทำความสะอาดด้านบนของแบตเตอรี่

    4. ต่อเครื่องชาร์จแบตเตอรี่ 3-4 แอมป์เข้ากับเสาแบตเตอรี่ ชาร์จแบตเตอรี่ด้วยกำลัง 3 ถึง 4 แอมป์เป็นเวลา 4 ถึง 8 ชั่วโมง

    5. เมื่อชาร์จแบตเตอรี่แล้ว ถอดเครื่องชาร์จออกจากเต้ารับไฟฟ้าและเสาแบตเตอรี่

    6. สอดแบตเตอรี่เข้าในถาดในช่องวางแบตเตอรี่ดังแสดงใน รูป 50

      g010021
    7. ต่อสายไฟแบตเตอรี่ขั้วบวก (สีแดง) เข้ากับแบตเตอรี่ขั้วบวก (+) ด้วยสลักเกลียวและน็อตที่ถอดออกมาก่อนหน้านี้ จากนั้นเลื่อนบูตยางครอบขั้วบวกเพื่อป้องกันการลัดวงจร

    8. ต่อสายไฟแบตเตอรี่ขั้วลบ (สีดำ) เข้ากับขั้วลบ (–) ด้วยสลักเกลียวและน็อตที่ถอดออกมาก่อนหน้านี้

    9. เคลือบขั้วสายไฟและเสาแบตเตอรี่ด้วยน้ำยาเคลือบ Grafo 112X (หมายเลขอะไหล่ Toro 505-47)

    10. ปิดและใส่สลักฝาครอบช่องวางแบตเตอรี่

    การซ่อมบำรุงแบตเตอรี่

    ระยะการซ่อมบำรุงขั้นตอนการบำรุงรักษา
    ทุกปี
  • ตรวจสอบการเชื่อมต่อสายไฟแบตเตอรี่
  • สายไฟแบตเตอรี่ต้องยึดกับขั้วแน่นหนา เพื่อให้ขั้วไฟฟ้าสัมผัสกันดี

    คำเตือน

    การเดินสายไฟแบตเตอรี่ไม่ถูกต้องอาจทำให้อุปกรณ์และสายไฟเสียหาย โดยทำให้เกิดประกายไฟ ประกายไฟอาจทำให้แบตเตอรี่ปล่อยก๊าซที่ทำให้ระเบิด ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บขึ้นได้

    • ถอดสายไฟแบตเตอรี่ขั้วลบ (สีดำ) ก่อนถอดสายไฟแบตเตอรี่ขั้วบวก (สีแดง) เสมอ

    • ต่อสายไฟแบตเตอรี่ขั้วบวก (สีแดง) ก่อนต่อสายไฟขั้วลบ (สีดำ) เสมอ

    หากขั้วสึกกร่อน ให้ถอดสายไฟ (สายขั้วลบ (-) ออกก่อน) และขูดข้อรัดและขั้วออกแยกกัน ต่อสายไฟ (สายขั้วบวก (+) ก่อน) และเคลือบขั้วด้วยปิโตรเลียมเจลลี่

    คำเตือน

    ขั้วแบตเตอรี่หรือเครื่องมือโลหะอาจลัดวงจรกับส่วนประกอบรถลากพ่วงที่เป็นโลหะ และทำให้เกิดประกายไฟได้ ประกายไฟอาจทำให้แบตเตอรี่ปล่อยก๊าซที่ทำให้ระเบิด ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บขึ้นได้

    • เมื่อถอดหรือติดตั้งแบตเตอรี่ อย่าให้ขั้วแบตเตอรี่สัมผัสกับส่วนโลหะของอุปกรณ์

    • อย่าให้เครื่องมือโลหะลัดวงจรระหว่างขั้วแบตเตอรี่สัมผัสกับส่วนโลหะของอุปกรณ์

    1. ปลดสลักและเปิดฝาครอบช่องวางแบตเตอรี่ (รูป 51)

      g010020
    2. ตรวจสอบว่าข้อรัดสายไฟแบตเตอรี่แน่นหนาดี และขันข้อรัดแบตเตอรี่ที่หลวมอยู่ให้แน่น

      Important: ตรวจดูให้แน่ใจว่าสายแบตเตอรี่และคันเลือกความเร็วมีระยะห่างระหว่างกัน ตรวจสอบว่าคันเลือกความเร็วไม่เคลื่อนเข้าใกล้สายแบตเตอรี่ในระยะ 2.5 ซม. (1 นิ้ว) เมื่อขยับเต็มที่ อย่าต่อหรือติดเทปสายแบตเตอรี่ขั้วลบกับขั้วบวกเข้าด้วยกัน

    3. ตรวจหาการสึกหรอบนข้อรัดสายไฟแบตเตอรี่และขั้วแบตเตอรี่ หากพบว่าขั้วสึกหรอ ให้ทำดังนี้:

      1. ถอดสลักเกลียวและน็อตที่ยึดสายไฟแบตเตอรี่ขั้วลบ (สีดำ) เข้ากับขั้วลบ (–) ออก และถอดสายไฟขั้วลบออก

      2. ถอดสลักเกลียวและน็อตที่ยึดสายไฟแบตเตอรี่ขั้วบวก (สีแดง) เข้ากับแบตเตอรี่ขั้วบวก (+) ออก และถอดสายไฟขั้วบวกออก

      3. ทำความสะอาดข้อรัดสายไฟและขั้วแบตเตอรี่

      4. ต่อสายไฟแบตเตอรี่ขั้วบวก (สีแดง) เข้ากับแบตเตอรี่ขั้วบวก (+) ด้วยสลักเกลียวและน็อตที่ถอดออกมาก่อนหน้านี้ จากนั้นเลื่อนบูตยางครอบขั้วบวกเพื่อป้องกันการลัดวงจร

      5. ต่อสายไฟแบตเตอรี่ขั้วลบ (สีดำ) เข้ากับขั้วลบ (–) ของแบตเตอรี่ด้วยสลักเกลียวและน็อตที่ถอดออกมาก่อนหน้านี้

      6. เคลือบขั้วสายไฟและเสาแบตเตอรี่ด้วยน้ำยาเคลือบ Grafo 112X (หมายเลขอะไหล่ Toro 505-47)

    4. ปิดและใส่สลักฝาครอบช่องวางแบตเตอรี่

    การตรวจสอบฟิวส์

    ระบบไฟฟ้าได้รับการปกป้องโดยฟิวส์ (รูป 52) และไม่ต้องบำรุงรุกษา แต่หากฟิวส์ขาด ให้ตรวจสอบส่วนประกอบ/วงจรเพื่อเช็คการทำงานผิดปกติหรือการช็อต

    1. หากต้องการเปลี่ยนฟิวส์ ให้ดึงฟิวส์ออกมา

    2. ใส่ฟิวส์ใหม่

    g010074

    โมดูลควบคุมเครื่องเติมอากาศ (ACM)

    โมดูลควบคุมเครื่องเติมอากาศคืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่รวมส่วนประกอบต่างๆ อยู่ในชิ้นเดียว และผลิตมาให้มี 1 ขนาดแต่ใช้ได้กับทุกรุ่น โมดูลจะใช้ส่วนประกอบที่เป็นโซลิดสเตทและส่วนประกอบกลไกในการตรวจติดตามและควบคุมคุณลักษณะทางไฟฟ้าที่จำเป็นต่อการทำงานอย่างปลอดภัยของอุปกรณ์

    g010053

    อินพุตของโมดูลควบคุมเครื่องเติมอากาศ ได้แก่ ด้านหน้ากดต่ำ ด้านหน้ายกสูง เคลื่อนย้าย เติมอากาศ และปรับระดับตามพื้น โดยโมดูลแบ่งออกเป็นอินพุตและเอาท์พุต ซึ่งจำแนกด้วยสัญญาณไฟ LED สีเขียวที่อยู่บนแผ่นวงจรพิมพ์ กำลังไฟฟ้าจะแสดงด้วยสัญญาณไฟ LED สีแดง

    อินพุตวงจรสตาร์ทจะใช้กระแสไฟฟ้า 12 VDC ส่วนอินพุตทั้งหมดที่เหลือจะได้รับกระแสไฟฟ้าเมื่อวงจรต่อกับกราวด์ อินพุตแต่ละแบบจะมีไฟ LED ของตัวเองที่จะสว่างขึ้นเมื่อวงจรนั้นๆ ได้รับกระแสไฟฟ้า ดังนั้น ให้ใช้ LED อินพุตในการแก้ไขปัญหาสวิตช์และวงจรอินพุต

    วงจรเอาต์พุตจะได้รับกระแสไฟฟ้าเมื่อชุดเงื่อนไขอินพุตถูกต้องเหมาะสม เอาต์พุตมี 3 แบบ ได้แก่ SVL, SVR และ SVQ LED เอาต์พุตจะตรวจสอบเงื่อนไขรีเลย์ที่บ่งชี้การมีอยู่ของแรงดันไฟฟ้า ณ เทอร์มินัลเอาต์พุต 1 จาก 3 เทอร์มินัล

    วงจรเอาต์พุตจะไม่ตรวจสอบความสมบูรณ์ของอุปกรณ์เอาต์พุต ดังนั้นการแก้ปัญหาทางไฟฟ้าจะต้องอาศัยการตรวจสอบ LED เอาต์พุตและอุปกรณ์แจ้งเตือน และการทดสอบความสมบูรณ์ถูกต้องของชุดสายไฟ วัดความต้านทานของส่วนประกอบที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับวงจร ความต้านทานผ่านชุดสายไฟ (ไม่ได้เชื่อมต่อที่ ACM) หรือทดสอบโดยการจ่ายพลังงานไปยังส่วนประกอบต่างๆ ชั่วคราว

    ACM ไม่ได้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ภายนอกหรืออุปกรณ์แบบมือถือ ตั้งโปรแกรมใหม่ไม่ได้ และไม่ได้บันทึกข้อมูลการแก้ไขปัญหาความบกพร่องเป็นระยะๆ

    ป้ายบน ACM จะแสดงสัญลักษณ์เท่านั้น สัญลักษณ์เอาต์พุต LED 3 แบบจะแสดงอยู่ในช่องเอาต์พุต ส่วน LED ทั้งหมดที่เหลือเป็นอินพุต ภาพด้านล่างแสดงสัญลักษณ์ต่างๆ

    decal106-8835

    ต่อไปนี้คือขั้นตอนการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสมสำหรับอุปกรณ์ ACM:

    1. ประเมินความบกพร่องของเอาต์พุตที่คุณพยายามจะแก้ไข

    2. ดันสวิตช์กุญแจไปยังตำแหน่งเปิด จากนั้นตรวจสอบให้แน่ใจว่าไฟ LED สีแดงที่ใช้แสดงกำลังไฟฟ้าสว่างขึ้น

    3. กดสวิตช์อินพุตทั้งหมดเพื่อให้แน่ใจว่าไฟ LED ทั้งหมดเปลี่ยนสถานะ

    4. วางอุปกรณ์อินพุตไว้ในตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่อให้ได้เอาต์พุตที่เหมาะสม

    5. หากมีไฟ LED เอาต์พุตดวงใดสว่างขึ้นมาโดยที่ไม่มีการทำงานเอาต์พุตที่เหมาะสม ให้ตรวจสอบชุดสายไฟ การเชื่อมต่อ และส่วนประกอบเอาต์พุต แล้วทำการซ่อมแซมตามความจำเป็น

    6. หากไฟ LED เอาต์พุตดวงใดไม่สว่าง ให้ตรวจสอบฟิวส์ทั้งคู่

    7. หากไฟ LED เอาต์พุตดวงใดไม่สว่าง ทั้งๆ ที่อินพุตมีความเหมาะสม ให้ติดตั้ง ACM และดูว่าข้อบกพร่องหายไปหรือไม่

    การบำรุงรักษาระบบขับเคลื่อน

    การตรวจสอบแรงดันลมยาง

    ระยะการซ่อมบำรุงขั้นตอนการบำรุงรักษา
    ทุก 50 ชั่วโมง
  • ตรวจสอบแรงดันลมยาง
  • จอดอุปกรณ์บนพื้นราบ ดับเครื่องยนต์ ดึงเบรกมือ และดึงกุญแจออก

    ตรวจเช็คให้แน่ใจว่าทุกล้อมีแรงดันลม 0.83 บาร์ (12 ปอนด์ต่อตร.นิ้ว) ตรวจสอบแรงดันลมยางตอนล้อเย็น เพื่อให้อ่านค่าแรงดันลมยางได้เที่ยงตรงที่สุด

    Important: หากแรงดันลมไม่เท่ากัน อาจทำให้ความลึกในการเจาะไม่สม่ำเสมอกัน

    g010030

    ข้อควรระวัง

    ล้อมีน้ำหนักมากและหนักถึง 33 กก. (73 ปอนด์)

    ใช้ความระมัดระวังขณะถอดล้อออกจากชุดล้อ

    การปรับระบบขับเคลื่อนสำหรับเกียร์ว่าง

    อุปกรณ์จะต้องไม่เคลื่อนที่เมื่อคุณปล่อยคันควบคุมการขับเคลื่อน หากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แสดงว่าจำเป็นต้องการทำการปรับ

    1. จอดอุปกรณ์บนพื้นราบ ดับเครื่องยนต์ ดึงเบรกมือ และดึงกุญแจออก

    2. ยกอุปกรณ์ขึ้น ให้ล้อหน้าและล้อหลัง 1 ล้อยกขึ้นจากพื้นดิน วางขาตั้งแม่แรงไว้ใต้อุปกรณ์ โปรดดู การยกอุปกรณ์

    3. คลายน็อตล็อคบนลูกเบี้ยวปรับการขับเคลื่อน (รูป 56)

      g010062
    4. สตาร์ทเครื่องยนต์และปลดเบรกมือ

      คำเตือน

      เครื่องยนต์จะต้องทำงานเพื่อให้คุณสามารถปรับลูกเบี้ยวการขับเคลื่อนในขั้นสุดท้ายได้ ขั้นตอนนี้อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บขึ้นได้

      ดูแลให้มือ เท้า ใบหน้า และส่วนอื่นๆ ของร่างกายออกห่างจากท่อไอเสีย ชิ้นส่วนอื่นๆ ของเครื่องยนต์ที่มีอุณหภูมิสูง และชิ้นส่วนเคลื่อนไหว

    5. หมุนน็อตของลูกเบี้ยวไปทิศทางใดทิศทางหนึ่งจนกระทั่งล้อไม่หมุน

    6. จากนั้นขันน็อตล็อคเพื่อตรึงค่าที่ปรับเอาไว้

    7. ดับเครื่องยนต์

    8. นำขาตั้งแม่แรงออกมาและลดระดับอุปกรณ์ลงบนพื้น

    9. ทดสอบอุปกรณ์เพื่อให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ไม่เคลื่อนอีกต่อไป

    การบำรุงรักษาสายพาน

    การปรับสายพานปั๊ม

    ระยะการซ่อมบำรุงขั้นตอนการบำรุงรักษา
    หลังจาก 8 ชั่วโมงแรก
  • ปรับสายพานปั๊ม
    1. จอดอุปกรณ์บนพื้นราบ ดับเครื่องยนต์ ดึงเบรกมือ และดึงกุญแจออก

    2. ปลดสลักและถอดฝาครอบสายพานออก (รูป 57)

      g010065
    3. ถอดน็อตยึดแผ่นกั้นปั๊ม 2 ตัวออก จากนั้นถอดแผ่นกั้น (รูป 58)

      g010066
    4. คลายสลักเกลียวของลูกรอกรองสายพานปั๊ม พอให้สามารถขยับอยู่ภายในร่องปรับ (รูป 59)

      g010067
    5. แตะที่ด้านบนของลูกรอกรองสายพานและให้สปริงดึงเป็นตัวปรับความตึงของสายพาน

      Note: ห้ามเพิ่มแรงตึงของสายพานเกินกว่าแรงตึงที่ได้จากสปริงดึง เพราะอาจทำให้ส่วนประกอบเสียหายได้

    6. ขันสลักเกลียวลูกรอกรองสายพาน

    7. ใส่แผ่นกั้นปั๊มและฝาครอบปั๊ม

    การตรวจสอบสายพาน

    ระยะการซ่อมบำรุงขั้นตอนการบำรุงรักษา
    ทุกปี
  • ตรวจสภาพสายพานเพื่อดูการสึกหรอและความเสียหาย
  • สายพานขับบนอุปกรณ์มีความแข็งแรงทนทาน แต่เมื่อสัมผัสกับรังสียูวีจากการใช้งานตามปกติ โอโซน หรือสัมผัสกับสารเคมีโดยไม่ได้ตั้งใจ ก็อาจทำให้ส่วนประกอบที่เป็นยางเสื่อมสภาพได้เมื่อเวลาผ่านไป และทำให้สึกหรอหรือสึกกร่อนก่อนเวลาอันควร (กล่าวคือบิ่นหรือแตกหัก)

    ตรวจสภาพสายพานเป็นประจำทุกปีเพื่อดูร่องรอยการสึกหรอ รอยแตกบนยางรับแรงอัดที่มีมากเกินไป หรือเศษสิ่งสกปรกขนาดใหญ่ที่ฝังอยู่บนสายพาน เปลี่ยนใหม่ ถ้าจำเป็น คุณสามารถหาซื้อชุดซ่อมบำรุงสายพานที่ครบครันได้จากตัวแทนจำหน่าย Toro ที่ได้รับอนุญาต

    การบำรุงรักษาระบบควบคุม

    การรีเซ็ตระบบปรับระดับตามพื้นดิน

    หากระบบปรับระดับตามพื้นดิน True Core ต้องได้รับการซ่อมบำรุง ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมบำรุงแบบใดก็ตาม (ยกเว้นการเปลี่ยนแผงป้องกันสนาม) หรือหากแผงยึดเดือยเจาะสัมผัสกับแผงป้องกันสนามเมื่อตั้งค่าให้เจาะดินด้วยความลึกสูงสุด คุณอาจจะต้องรีเซ็ตเหล็กยึดปรับความลึก

    1. จอดอุปกรณ์บนพื้นราบ ดับเครื่องยนต์ ดึงเบรกมือ และดึงกุญแจออก

    2. หมุนโครงยึดแผงป้องกันสนามทางซ้ายมือ (รูป 60) จนกระทั่งคุณสามารถสอดหมุดล็อค เช่น ก้านเจาะหรือสลักเกลียวขนาด 8 มม. (5/16 นิ้ว) เข้าไประหว่างโครงยึดกับท่อตั้งค่าความลึกที่เชื่อมอยู่กับโครงอุปกรณ์ได้

      g010063
    3. ดันคันปรับความลึกเดือยเจาะ (รูป 60) ไปยังค่า H (ลึกที่สุด)

    4. ตัดการเชื่อมต่อสวิตช์บอลด้านนอก (รูป 60) ออกจากชุดสายไฟ (สวิตช์ด้านหน้า–กดต่ำ)

    5. คลายน็อตสวมทับ (ซ้ายและขวา) ที่อยู่บนเหล็กยึดปรับความลึก (รูป 60)

    6. ใช้มัลติมิเตอร์วัดการปิดทางไฟฟ้าของสวิตช์บอล

    7. หมุนเหล็กยึดพอให้สวิตช์บอลปิดหรือมีการสัมผัส

    8. ขันน็อตสวมทับทางซ้ายและขวาบนเหล็กยึด

    9. เชื่อมต่อสวิตช์บอลเข้ากับชุดสายไฟ

    10. ดึงหมุดออกจากโครงแผงป้องกันสนามและท่อตั้งค่าความลึก

    การบำรุงรักษาระบบไฮดรอลิก

    ความปลอดภัยของระบบไฮดรอลิก

    • ไปพบแพทย์ทันทีหากโดนน้ำมันฉีดใส่ผิวหนัง น้ำมันที่ฉีดโดนร่างกายจะต้องให้แพทย์ผ่าตัดออกภายในสองถึงสามชั่วโมง

    • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าท่ออ่อนน้ำมันไฮดรอลิกและท่อระบบมีสภาพดี และข้อต่อและการเชื่อมต่อระบบไฮดรอลิกทั้งหมดแน่นหนาก่อนจ่ายแรงดันเข้าไปในระบบไฮดรอลิก

    • ดูแลให้มือและร่างกายออกห่างจากจุดรั่วรูเข็มหรือหัวฉีดที่ฉีดน้ำมันไฮดรอลิกแรงดันสูง

    • ใช้กระดาษลังหรือกระดาษหาจุดรั่วของระบบไฮดรอลิก

    • ระบายแรงดันทั้งหมดในระบบไฮดรอลิกอย่างปลอดภัยก่อนจะทำงานใดๆ กับระบบไฮดรอลิก

    การตรวจสอบท่อไฮดรอลิก

    ระยะการซ่อมบำรุงขั้นตอนการบำรุงรักษา
    ก่อนการใช้งานแต่ละครั้งหรือทุกวัน
  • ตรวจสอบท่อไฮดรอลิก
  • ก่อนใช้งานแต่ละครั้ง ให้ตรวจสอบท่อและสายไฮดรอลิกเพื่อเช็คการรั่วไหล ข้อต่อหลวม สายหักงอ โครงยึดหลวม การสึกหรอ การเสื่อมสภาพจากสภาพอากาศและสารเคมี จากนั้นซ่อมแซมความเสียหายก่อนกลับไปใช้งานต่อ

    Note: รักษาความสะอาดรอบๆ ระบบไฮดรอลิกไม่ให้มีสิ่งสกปรกสะสม

    ข้อมูลจำเพาะน้ำมันไฮดรอลิก

     น้ำมันรถแทรกเตอร์สำหรับระบบส่งกำลัง/ไฮดรอลิกพรีเมียมของ Toro (มีจำหน่ายทั้งขนาดถัง 5 แกลลอนและถังเหล็ก 55 แกลลอน ดูหมายเลขอะไหล่ในแคตตาล็อกอะไหล่หรือสอบถามตัวแทนจำหน่าย Toro)

    น้ำมันทางเลือก: หากไม่สามารถหาซื้อน้ำมันที่ระบุไว้ได้ คุณสามารถใช้น้ำมันไฮดรอลิกสำหรับแทรกเตอร์อเนกประสงค์ (UTHF) แทนได้ แต่ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมแบบดั้งเดิมเท่านั้น ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์น้ำมันสังเคราะห์หรือน้ำมันชนิดย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ข้อมูลจำเพาะของผลิตภัณฑ์จะต้องอยู่ภายในช่วงที่กำหนดไว้สำหรับคุณสมบัติด้านหลักๆ ดังต่อไปนี้ นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นต้องได้มาตรฐานอุตสาหกรรมที่กำหนดไว้ด้วย โปรดตรวจสอบกับผู้จัดจำหน่ายน้ำมันว่าผลิตภัณฑ์มีคุณสมบัติตรงตามข้อมูลจำเพาะเหล่านี้หรือไม่

    Note: Toro จะไม่รับผิดชอบความเสียหายจากการใช้น้ำมันไฮดรอลิกเปลี่ยนทดแทนที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นควรใช้ผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงน่าเชื่อถือเท่านั้น

    คุณสมบัติวัสดุ:
    ความหนืด, ASTM D445cSt ที่ 40°C (104°F) 55 ถึง 62
    ดัชนีความหนืด ASTM D2270140 ถึง 152
    จุดไหลเท, ASTM D97-37°C ถึง -43°C (-35°F ถึง -46°F)
    ข้อมูลจำเพาะของอุตสาหกรรม: API GL-4, AGCO Powerfluid 821 XL, Ford New Holland FNHA-2-C-201.00, Kubota UDT, John Deere J20C, Vickers 35VQ25 และ Volvo WB-101/BM
     

    Note: น้ำมันไฮดรอลิกส่วนใหญ่เกือบจะไม่มีสี ทำให้การมองหาจุดรั่วได้ยาก สีย้อมน้ำมันไฮดรอลิกสีแดงมีจัดจำหน่ายเป็นขวดขนาด 20 มล. (0.67 ออนซ์ของเหลว) ซึ่งขวดหนึ่งก็เพียงพอแล้วสำหรับน้ำมันไฮดรอลิก 15 ถึง 22 ลิตร (4 ถึง 6 แกลลอนสหรัฐ) สามารถแจ้งหมายเลขสั่งซื้ออะไหล่ 44-2500 กับตัวแทนจำหน่าย Toro ที่ได้รับอนุญาต

    การตรวจสอบระดับน้ำมันไฮดรอลิก

    ระยะการซ่อมบำรุงขั้นตอนการบำรุงรักษา
    ก่อนการใช้งานแต่ละครั้งหรือทุกวัน
  • ตรวจสอบระดับน้ำมันไฮดรอลิก
  • Important: ตรวจสอบระดับน้ำมันไฮดรอลิกก่อนการสตาร์ทเครื่องยนต์ครั้งแรก และทุกวันหลังจากนั้น

    ถังน้ำมันไฮดรอลิกเติมน้ำมันไฮดรอลิกคุณภาพสูงมาแล้วจากโรงงาน

    1. จอดอุปกรณ์บนพื้นราบ ดับเครื่องยนต์ ดึงเบรกมือ และดึงกุญแจออก

    2. ปลดสลักและถอดฝาครอบสายพานออก (รูป 61)

      g010024
    3. ทำความสะอาดบริเวณรอบช่องเติมและฝาของถังไฮดรอลิก (รูป 62) เปิดฝาออกจากช่องเติม

      g010028
    4. ดึงก้านวัดออกจากช่องเติมและเช็ดด้วยผ้าขี้ริ้วสะอาด สอดก้านวัดลงในช่องเติม จากนั้นดึงออกมาเพื่อดูระดับน้ำมัน ระดับน้ำมันต้องไม่เกินกว่าระดับของขีดเครื่องหมายบนก้านวัด (รูป 63)

      g010029
    5. หากน้ำมันเหลือน้อย เติมน้ำมันไฮดรอลิกที่กำหนดพอให้ระดับถึงขีดเต็ม

    6. ใส่ก้านวัดเข้าที่และปิดฝาช่องเติม

    การเปลี่ยนน้ำมันไฮดรอลิกและตัวกรอง

    ระยะการซ่อมบำรุงขั้นตอนการบำรุงรักษา
    หลังจาก 8 ชั่วโมงแรก
  • เปลี่ยนน้ำมันไฮดรอลิก รวมทั้งตัวกรองขากลับและขาดูด
  • ทุก 200 ชั่วโมง
  • เปลี่ยนน้ำมันไฮดรอลิก รวมทั้งตัวกรองขากลับและขาดูด
  • ความจุอ่างน้ำมันไฮดรอลิก: ประมาณ 6.6 ลิตร (1.75 แกลลอนสหรัฐ)

    Important: ห้ามเปลี่ยนตัวกรองน้ำมันยานยนต์เป็นตัวกรองแบบอื่น มิฉะนั้นอาจทำให้ระบบไฮดรอลิกเสียหายอย่างรุนแรง

    Note: การถอดตัวกรองขากลับจะเป็นการระบายของเหลวทั้งหมดในอ่างน้ำมันออกมา

    1. จอดอุปกรณ์บนพื้นราบ ดับเครื่องยนต์ ดึงเบรกมือ และดึงกุญแจออก

    2. วางอ่างระบายไว้ใต้ตัวกรอง จากนั้นถอดตัวกรองอันเก่าออก และเช็ดผิวของปะเก็นอะแดปเตอร์ตัวกรองให้สะอาด (รูป 64)

      g010060
    3. ทาน้ำมันไฮดรอลิกเป็นชั้นบางๆ ที่ปะเก็นยางบนตัวกรองที่จะเปลี่ยน

    4. ติดตั้งตัวกรองน้ำมันไฮดรอลิกที่จะเปลี่ยนลงบนอะแดปเตอร์ตัวกรอง หมุนตัวกรองน้ำมันแต่ละตัวตามเข็มนาฬิกาจนกว่าปะเก็นยางจะสัมผัสกับอะแดปเตอร์ตัวกรอง จากนั้นขันเพิ่มอีก 1/2 รอบ

    5. เติมน้ำมันไฮดรอลิกที่กำหนดจนกระทั่งระดับน้ำมันถึงขีดเต็มบนก้านวัด โปรดดู การตรวจสอบระดับน้ำมันไฮดรอลิก

    6. สตาร์ทเครื่องยนต์ และปล่อยให้เครื่องยนต์ทำงานประมาณ 2 นาทีเพื่อไล่อากาศออกจากระบบ ดับเครื่องยนต์และดึงกุญแจออก จากนั้นตรวจสอบการรั่วไหล

    7. ตรวจสอบระดับน้ำมันอีกครั้งขณะที่น้ำมันยังอุ่นอยู่ เติมน้ำมันไฮดรอลิกที่กำหนดจนกระทั่งระดับน้ำมันถึงขีดเต็มบนก้านวัด ถ้าจำเป็น

      Note: อย่าเติมน้ำมันไฮดรอลิกลงในอ่างน้ำมันมากเกินไป

    พอร์ตทดสอบระบบไฮดรอลิก

    พอร์ตทดสอบใช้สำหรับทดสอบแรงดันในวงจรไฮดรอลิก ติดต่อตัวแทนจำหน่ายของ Toro ที่ได้รับอนุญาต เพื่อขอความช่วยเหลือ

    • พอร์ตทดสอบ G2 (รูป 65) ใช้ในการช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับวงจรชาร์จการขับเคลื่อน

      g010061
    • พอร์ตทดสอบ G1 (รูป 65) ใช้ในการช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับแรงดันวงจรการยก

    การบำรุงรักษาเครื่องเติมอากาศ

    การตรวจสอบแรงบิดของตัวยึด

    ระยะการซ่อมบำรุงขั้นตอนการบำรุงรักษา
    หลังจาก 8 ชั่วโมงแรก
  • ตรวจสอบแรงบิดของตัวยึดหัวเดือย ตัวยึดด้ามจับคันไถ และน็อตล็อคของล้อ
  • ทุก 250 ชั่วโมง
  • ตรวจสอบแรงบิดของตัวยึดหัวเดือย ตัวยึดด้ามจับคันไถ และน็อตล็อคของล้อ
  • จอดอุปกรณ์บนพื้นราบ ดับเครื่องยนต์ ดึงเบรกมือ และดึงกุญแจออก

    ตรวจสอบตัวยึดหัวเดือย ตัวยึดด้ามจับคันไถ และน็อตล็อคของล้อให้แน่ใจว่ามีแรงบิดที่เหมาะสม ข้อกำหนดเกี่ยวกับแรงบิดของตัวยึดมีระบุอยู่บนป้ายการซ่อมบำรุงอ้างอิงบนหัวเดือย

    g010072

    การปรับแผ่นกั้นด้านข้าง

    แผ่นกั้นด้านข้างหัวเดือยควรปรับให้ด้านล่างอยู่ห่างจากพื้นสนามระหว่าง 25 ถึง 38 มม. (1 ถึง 1.5 นิ้ว) ขณะเติมอากาศ

    1. จอดอุปกรณ์บนพื้นราบ ดับเครื่องยนต์ ดึงเบรกมือ และดึงกุญแจออก

    2. คลายสลักเกลียวและน็อตที่ยึดแผ่นกั้นกับโครงอุปกรณ์ (รูป 67)

      g010064
    3. ปรับแผ่นกั้นขึ้นหรือลง แล้วขันน็อตให้แน่นหนา

    การเปลี่ยนแผงป้องกันสนาม

    ควรเปลี่ยนแผงป้องกันสนามทั้งหมดที่แตกหักหรือสึกหรอจนกระทั่งหนาไม่ถึง 6 มม. (1/4 นิ้ว) แผงป้องกันสนามที่แตกหักอาจจะครูดและทำให้สนามหญ้าฉีกขาดเสียหาย

    g010068

    แผงป้องกันสนามที่บางลงอาจทำให้ระบบปรับระดับตามพื้นดิน True Core ไม่ได้ทำงานตามการตั้งค่าความลึกที่กำหนด ทั้งเนื่องจากการสึกหรอและตัวแผงไม่แข็งแรงเช่นเดิม

    การปรับระยะห่างของรูเจาะ

    ระยะห่างระหว่างรูเจาะของเครื่องเติมอากาศจะกำหนดโดยความเร็วบนพื้นที่ตั้งค่าให้กับระบบขับเคลื่อน ระยะห่างของรูเจาะตั้งค่าไว้ไม่เกิน 3 มม. (1/8 นิ้ว) ของการตั้งค่าที่กำหนดจากโรงงาน

    ในกรณีที่ระยะห่างของรูเจาะแตกต่างจากค่าที่กำหนดไว้เกินกว่าที่ต้องการ ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้:

    1. จอดอุปกรณ์บนพื้นราบ ดับเครื่องยนต์ ดึงเบรกมือ และดึงกุญแจออก

    2. ปลดสลักและถอดฝาครอบสายพานออก (รูป 57)

    3. ถอดน็อตยึดแผ่นกั้นปั๊ม 2 ตัวออก จากนั้นถอดแผ่นกั้น (รูป 58)

    4. ในพื้นที่เปิดโล่งที่สามารถเติมอากาศได้อย่างอิสระ (บริเวณทดลอง) ให้ตั้งค่าคันบังคับระยะห่างรูเจาะเป็นระยะห่างรูเจาะที่ต้องการ แล้วเดินเติมอากาศอย่างน้อย 4.5 ม. (15 ฟุต)

    5. วัดระยะห่างระหว่างรูเจาะหลายๆ รู แล้วหารด้วยจำนวนรูเจาะที่วัด เพื่อคำนวณค่าเฉลี่ยของระยะห่างรูเจาะ

      ตัวอย่าง: ตั้งค่าระยะห่างระหว่างรูเจาะ 5.1 ซม. (2 นิ้ว):

      21.2 หารด้วย 10 จะได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.12 แสดงว่าระยะห่างของรูเจาะยาวกว่าค่าที่ตั้งไว้ 3 มม. (0.12 นิ้ว) (รูป 69)

      g010069

      18.8 หารด้วย 10 จะได้ 1.88 แสดงว่าระยะห่างของรูเจาะสั้นกว่าค่าที่ตั้งไว้ 3 มม. (0.12 นิ้ว) (รูป 70)

      g010070
    6. หากจำเป็นต้องปรับ ให้หมุนสลักเกลียวหยุดของปั๊ม (รูป 71) ให้เข้าใกล้แผงหยุดมากขึ้นเพื่อลดระยะห่างของรูเจาะลง หรือหมุนสลักเกลียวหยุดให้ออกห่างจากแผงหยุดเพื่อเพิ่มระยะห่างระหว่างรูเจาะ

      g010071
    7. ทำซ้ำขั้นตอนที่ 4 ถึง 6 จนกระทั่งระยะห่างเท่ากับค่าที่กำหนดไว้

      Note: การหมุนสลักเกลียวหยุดแต่ละรอบจะเป็นการปรับระยะห่างของรูเจาะประมาณ 16 มม. (5/8 นิ้ว)

    การกำหนดเวลาการทำงานของหัวเดือย

    เครื่องหมายกำหนดเวลาทำงานของหัวเดือยสังเกตได้ง่ายๆ จากเครื่องหมายที่อยู่บนอุปกรณ์

    g010073

    การจัดเก็บ

    1. จอดอุปกรณ์บนพื้นราบ ดึงเบรกมือ ดับเครื่องยนต์ ดึงกุญแจออก และรอให้การเคลื่อนไหวหยุดนิ่งก่อนจะลุกออกจากอุปกรณ์

    2. ถอดสายไฟหัวเทียน

    3. กำจัดหญ้า ดิน และสิ่งสกปรกออกจากชิ้นส่วนภายนอกของเครื่องจักรทั้งหมด โดยเฉพาะเครื่องยนต์และระบบไฮดรอลิก ทำความสะอาดฝุ่นและเศษสิ่งสกปรกออกจากด้านนอกครีบหัวกระบอกสูบของเครื่องยนต์และตัวเรือนเครื่องเป่าด้วย

    4. ซ่อมบำรุงระบบกรองอากาศ โปรดดู การซ่อมบำรุงระบบกรองอากาศ

    5. เปลี่ยนน้ำมันห้องข้อเหวี่ยง โปรดดู การเปลี่ยนน้ำมันเครื่องและตัวกรองน้ำมันเครื่อง

    6. เปลี่ยนตัวกรองน้ำมันไฮดรอลิกและน้ำมันไฮดรอลิก โปรดดู การเปลี่ยนน้ำมันไฮดรอลิกและตัวกรอง

    7. ตรวจสอบแรงดันลมยาง โปรดดู การตรวจสอบแรงดันลมยาง

    8. ตรวจสอบสภาพเดือยเจาะ

    9. หากคุณจัดเก็บอุปกรณ์ไว้นานกว่า 30 วัน ให้เตรียมการดังนี้:

      1. ถอดสายแบตเตอรี่จากเสาแบตเตอรี่และยกแบตเตอรี่ออกจากอุปกรณ์

      2. ทำความสะอาดแบตเตอรี่ ขั้ว และเสาด้วยแปรงลวดและส่วนผสมเบกกิ้งโซดา

      3. เคลือบขั้วสายไฟและเสาแบตเตอรี่ด้วยจาระบีแบบสกินโอเวอร์ Grafo 112X (หมายเลขชิ้นส่วน Toro 505-47) หรือปิโตรเลียมเจลลี่เพื่อป้องกันการสึกกร่อน

      4. ชาร์จแบตเตอรี่อย่างช้าๆ ทุก 60 วันนาน 24 ชั่วโมงเพื่อป้องกันไม่ให้แบตเตอรี่เกิดตะกั่วซัลเฟต เพื่อป้องกันไม่ให้แบตเตอรี่เย็นจัด ควรชาร์จแบตเตอรี่จนเต็ม ความถ่วงจำเพาะของแบตเตอรี่ที่ชาร์จเต็มคือ 1.265 ถึง 1.299

        คำเตือน

        ขั้นตอนการชาร์จแบตเตอรี่ทำให้เกิดก๊าซที่อาจระเบิดได้

        ห้ามสูบบุหรี่ใกล้แบตเตอรี่และอย่านำประกายไฟและเปลวไฟเข้าใกล้แบตเตอรี่โดยเด็ดขาด

      5. เก็บแบตเตอรี่บนชั้นหรือในอุปกรณ์ หากเก็บไว้ในอุปกรณ์ ให้ถอดสายไฟออก จัดเก็บแบตเตอรี่ในสถานที่เย็น เพื่อไม่ให้ประจุไฟฟ้าในแบตเตอรี่คลายเร็ว

      6. เติมสารคงสภาพ/ปรับสภาพชนิดปิโตรเลียมลงในเชื้อเพลิงในถัง ทำตามขั้นตอนการผสมของผู้ผลิตสารคงสภาพ อย่าใช้สารคงสภาพชนิดแอลกอฮอล์ (เอทานอลหรือเมทานอล)

        Note: สารคงสภาพ/ปรับสภาพเชื้อเพลิงมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อผสมกับเชื้อเพลิงใหม่และใช้ตลอดเวลา

      7. ปล่อยให้เครื่องยนต์ทำงาน 5 นาที เพื่อให้จ่ายเชื้อเพลิงที่ผสมสารคงสภาพกระจายไปทั่วระบบเชื้อเพลิง

      8. ดับเครื่องยนต์ ปล่อยให้เครื่องยนต์เย็น ระบายน้ำมันออกจากถังน้ำมัน โปรดดู การระบายถังเชื้อเพลิง

      9. สตาร์ทเครื่องยนต์ และปล่อยไว้จนเครื่องยนต์ดับไปเอง

      10. โช้คเครื่องยนต์ สตาร์ทและปล่อยให้เครื่องยนต์ทำงานจนกว่าจะไม่สตาร์ทอีก

      11. ทิ้งเชื้อเพลิงด้วยวิธีที่ถูกต้อง และนำไปรีไซเคิลตามกฎหมายท้องถิ่น

        Important: อย่าจัดเก็บเชื้อเพลิงที่ผสมสารคงสภาพ/ปรับสภาพไว้นานว่าระยะเวลาที่ผู้ผลิตสารคงสภาพเชื้อเพลิงแนะนำ

    10. ถอดหัวเทียนออกมาตรวจสอบสภาพ โปรดดู การซ่อมบำรุงหัวเทียน หลังจากถอดหัวเทียนออกจากเครื่องยนต์ เทน้ำมันเครื่อง 2 ช้อนโต๊ะลงในรูหัวเทียนแต่ละรู จากนั้น ใช้สตาร์ทเตอร์เพื่อกระตุกสตาร์ทเครื่องยนต์และกระจายน้ำมันภายในกระบอกสูบ ใส่หัวเทียน อย่าติดตั้งสายไฟบนหัวเทียน

    11. ตรวจสอบและขันสลัก น็อต และสกรูทั้งหมด ซ่อมแซมหรือเปลี่ยนชิ้นส่วนที่ชำรุดเสียหายหรือสึกหรอ

    12. ล้างและเช็ดอุปกรณ์ทั้งเครื่องให้แห้ง ถอดเดือยเจาะออกมาทำความสะอาดและเคลือบน้ำมัน พ่นละอองน้ำมันบางๆ บนแบริ่งหัวเจาะ (ก้านโยงข้อเหวี่ยงและแดมเปอร์)

      Important: คุณสามารถล้างอุปกรณ์ด้วยน้ำยาทำความสะอาดอ่อนๆ และน้ำ ห้ามล้างอุปกรณ์ด้วยน้ำแรงดันสูง หลีกเลี่ยงการใช้น้ำมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณใกล้กับแผงควบคุม เครื่องยนต์ ปั๊มไฮดรอลิก และมอเตอร์

      Note: ปล่อยให้เครื่องยนต์ทำงานด้วยการเดินรอบสูง 2 ถึง 5 นาทีหลังล้าง

    13. ซ่อมสีรอยขีดข่วนและพื้นผิวที่เปิดถึงโลหะทั้งหมด สีสามารถซื้อได้จากตัวแทนจำหน่าย Toro ที่ได้รับอนุญาต

    14. ใส่สลักซ่อมบำรุง หากต้องจัดเก็บอุปกรณ์ไว้นานกว่าสองหรือสามวัน

    15. จัดเก็บอุปกรณ์ในโรงรถหรือพื้นที่จัดเก็บที่แห้งและสะอาด ดึงกุญแจออกจากสวิตช์สตาร์ทเครื่องยนต์และเก็บให้ห่างจากมือเด็กหรือผู้ใช้อื่นๆ ที่ไม่ได้รับอนุญาต

    16. คลุมอุปกรณ์เพื่อป้องกันและรักษาความสะอาด

    การแก้ไขปัญหา

    ProblemPossible CauseCorrective Action
    สตาร์ทเตอร์ไม่สตาร์ท
    1. คันควบคุมการขับเคลื่อนอยู่ในตำแหน่ง เกียร์ว่าง
    2. แบตเตอรี่หมด
    3. ขั้วต่อทางไฟฟ้าเป็นสนิมหรือหลวม
    4. สวิตช์เกียร์ว่างปรับไม่ถูกต้อง
    5. รีเลย์หรือสวิตช์ทำงานผิดปกติ
    1. ดันคันควบคุมการขับเคลื่อนไปที่ตำแหน่งเกียร์ว่าง
    2. ชาร์จแบตเตอรี่
    3. ตรวจสอบขั้วต่อทางไฟฟ้าว่าหน้าสัมผัสมีสภาพดี
    4. ปรับสวิตช์เกียร์ว่าง
    5. ติดต่อตัวแทนจำหน่ายของ Toro ที่ได้รับอนุญาต
    เครื่องยนต์ไม่สตาร์ท สตาร์ทติดยาก หรือสตาร์ทแล้วดับ
    1. ถังเชื้อเพลิงว่างเปล่า
    2. โช้คไม่ทำงาน
    3. กรองอากาศสกปรก
    4. สายไฟหัวเทียนหลวมหรือหลุด
    5. หัวเทียนบุ๋ม สกปรก หรือระยะห่างเขี้ยวไม่ถูกต้อง
    6. มีสิ่งสกปรกอยู่ในตัวกรองเชื้อเพลิง
    7. มีฝุ่น น้ำ หรือเชื้อเพลิงเก่าอยู่ในระบบเชื้อเพลิง
    1. เติมน้ำมันเชื้อเพลิง
    2. ดันคันโช้คไปข้างหน้าจนสุด
    3. ทำความสะอาดหรือเปลี่ยนไส้กรองอากาศ
    4. ติดตั้งสายไฟบนหัวเทียน
    5. ติดตั้งหัวเทียนอันใหม่ที่มีระยะห่างถูกต้อง
    6. เปลี่ยนตัวกรองเชื้อเพลิง
    7. ติดต่อตัวแทนจำหน่ายของ Toro ที่ได้รับอนุญาต
    เครื่องยนต์สูญเสียกำลัง
    1. ภาระหรือโหลดเครื่องยนต์มากเกินไป
    2. กรองอากาศสกปรก
    3. ระดับน้ำมันเครื่องต่ำ
    4. ครีบระบายความร้อนและท่ออากาศที่อยู่ใต้ตัวเรือนตัวเป่าลมอุดตัน
    5. หัวเทียนบุ๋ม สกปรก หรือระยะห่างเขี้ยวไม่ถูกต้อง
    6. มีสิ่งสกปรกอยู่ในตัวกรองเชื้อเพลิง
    7. มีฝุ่น น้ำ หรือเชื้อเพลิงเก่าอยู่ในระบบเชื้อเพลิง
    1. ลดความเร็วขับเคลื่อนบนพื้น
    2. ทำความสะอาดไส้กรองอากาศ
    3. เติมน้ำมันในห้องข้อเหวี่ยง
    4. กำจัดเศษสิ่งสกปรกออกจากครีบระบายความร้อนและท่ออากาศ
    5. ติดตั้งหัวเทียนอันใหม่ที่มีระยะห่างถูกต้อง
    6. เปลี่ยนตัวกรองเชื้อเพลิง
    7. ติดต่อตัวแทนจำหน่ายของ Toro ที่ได้รับอนุญาต
    เครื่องยนต์มีความร้อนสูงเกิน
    1. ภาระหรือโหลดเครื่องยนต์มากเกินไป
    2. ระดับน้ำมันเครื่องต่ำ
    3. ครีบระบายความร้อนและท่ออากาศที่อยู่ใต้ตัวเรือนตัวเป่าลมอุดตัน
    1. ลดความเร็วขับเคลื่อนบนพื้น
    2. เติมน้ำมันในห้องข้อเหวี่ยง
    3. กำจัดเศษสิ่งสกปรกออกจากครีบระบายความร้อนและท่ออากาศ
    มีการสั่นผิดปกติ
    1. สลักเกลียวยึดเครื่องยนต์หลวม
    2. เพลาแม่แรงหรือแบริ่งหัวเดือยสึกหรอ
    3. ส่วนประกอบของเพลาแม่แรงหรือแบริ่งหัวเดือยหลวมหรือสึกหรอ
    1. ขันสลักเกลียวยึดเครื่องยนต์ให้แน่น
    2. เปลี่ยนแบริ่ง
    3. ขันส่วนประกอบที่หลวมให้แน่นหรือเปลี่ยนใหม่
    อุปกรณ์ไม่ขยับ
    1. เบรกมือทำงานอยู่
    2. ระดับน้ำมันไฮดรอลิกต่ำ
    3. วาล์วลากจูงเปิดอยู่
    4. ระบบน้ำมันไฮดรอลิกชำรุด
    1. ปลดเบรกมือ
    2. เติมน้ำมันไฮดรอลิก
    3. ปิดวาล์วลากจูง
    4. ติดต่อตัวแทนจำหน่ายของ Toro ที่ได้รับอนุญาต
    หัวเดือยไม่ทำงาน
    1. ระดับน้ำมันไฮดรอลิกต่ำ
    2. วาล์วลากจูงเปิดอยู่
    3. สายพานสึกหรอหรือหลวม
    4. คลัตช์สึกหรอ
    5. สวิตช์หรือรีเลย์สึกหรอ
    6. ระบบน้ำมันไฮดรอลิกชำรุด
    1. เติมน้ำมันไฮดรอลิก
    2. ปิดวาล์วลากจูง
    3. ปรับสายพานหรือเปลี่ยนใหม่
    4. เปลี่ยนคลัตช์
    5. เปลี่ยนสวิตช์หรือรีเลย์
    6. ติดต่อตัวแทนจำหน่ายของ Toro ที่ได้รับอนุญาต
    หัวเด้งออกระหว่างเติมอากาศ
    1. พื้นดินแข็งเกินไป
    2. เกิดปัญหาเกี่ยวกับการตั้งค่าการระบาย/ออริฟิสจำกัดการไหล
    3. ตำแหน่งของสวิตช์หมายเลข 4 ติดตั้งในตำแหน่งล่างสุดในขณะที่ทำการเติมอากาศแบบเจาะรูตื้น
    1. โปรดดูเคล็ดลับการใช้งาน
    2. การตอบสนองของระบบยกเป็นแบบไดนามิก ให้ปรับแรงดันของระบบ โปรดดูคู่มือการซ่อมบำรุง
    3. โปรดดูการปรับสวิตช์ตรวจจับระยะหมายเลข 4
    สนามถูกครูด/ฉีกขาดตอนเจาะเข้าหรือยกออก
    1. ต้องปรับชุดสวิตช์
    2. ส่วนหัวลดระดับช้าเกินไป
    3. จำเป็นต้องปรับสวิตช์ตรวจจับตำแหน่งทำงาน (สวิตช์หมายเลข 3 บนโครง H)
    4. จำเป็นต้องปรับสวิตช์ตรวจจับระยะหมายเลข 4 (สวิตช์หมายเลข 4 บนโครง H)
    5. คลัตช์สึกหรอหรือลื่น
    1. ปรับสวิตช์ โปรดดูคู่มือซ่อมบำรุง
    2. ตรวจสอบการทำงานของโซเลนอยด์ SVQ
    3. โปรดดูการปรับสวิตช์ตรวจจับระยะหมายเลข 3
    4. โปรดดูการปรับสวิตช์ตรวจจับระยะหมายเลข 4
    5. โปรดดูคู่มือซ่อมบำรุง
    มีปัญหาเกี่ยวกับระยะห่างรูเจาะของเดือย Quad (หรือเดือยเจาะขนาดเล็ก)
    1. รูเจาะเว้นระยะห่างไม่สม่ำเสมอกัน
    1. ตรวจสอบระยะห่าง โปรดดูเคล็ดลับการใช้งาน
    รูเจาะเป็นรอยยาวเมื่อใช้เดือยเจาะแบบดันแกนดินออกด้านข้าง
    1. ช่องดันแกนดินติดตอนยกขึ้น
    1. หมุนเดือย 45° ถึง 90° เพื่อให้ดันแกนดินออกด้านข้าง หากไม่ได้ผล ให้ลองใช้เดือยเจาะกลวง
    พื้นสนามยกขึ้้น/ฉีกขาดขณะเติมอากาศ
    1. ตรวจสอบมุมของหัวเดือย
    2. เส้นผ่านศูนย์กลาง ระยะห่าง หรือจำนวนของเดือยเจาะไม่เหมาะกับการใช้งาน
    3. ความลึกมากเกินไป
    4. ระยะห่างรูเจาะใกล้กันเกินไป
    5. สภาพสนาม (กล่าวคือโครงสร้างราก) ไม่แข็งแรงพอที่จะรองรับความเสียหาย
    1. โปรดดูข้อมูลจำเพาะในคู่มือซ่อมบำรุง
    2. ลดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเดือย ลดจำนวนเดือยต่อหัว หรือเพิ่มระยะห่างรูเจาะ
    3. ลดความลึกลง
    4. เพิ่มระยะห่างของรูเจาะ
    5. เปลี่ยนวิธีหรือช่วงเวลาในการเติมอากาศ
    ด้านหน้าของรูเจาะนูนขึ้นมาหรือบุ๋มลงไป
    1. Roto-Link อยู่ในตำแหน่งนิ่ม
    1. โปรดดูเคล็ดลับการใช้งาน